ฝ่าหลุนฝอฝ่า

 

วิธีสู่ความสำเร็จสมบูรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หลี่  หงจื้อ

 

 

 

 

 

กระบวนท่าการเคลื่อนไหว

เป็น

วิธีเสริมซิวเลี่ยนหยวนหมั่น

 

 

หลี่ หงจื้อ

1996 – 11 – 3

 


สารบัญ

 

1   จุดเด่นของหลักพลังกง......................................................... 1

1.     บำเพ็ญปฏิบัติฝ่าหลุน ไม่ฝึกตาน ไม่ก่อเกิดตาน................. 4

2.     แม้คนไม่ได้ฝึกพลังกงอยู่ ฝ่าหลุนก็ฝึกคน........................... 4

3.     บำเพ็ญปฏิบัติจิตสำนึกหลัก ตัวเองได้พลังกง...................... 5

4.     บำเพ็ญทั้งจิตและชีวิต......................................................... 6

5.     หลักพลังกง 5 ชุด เรียบและง่ายแก่การฝึก......................... 6

6.     ไม่มีความนึกคิด(อี้เนี้ยน)
ไม่ออกนอกลู่นอกทาง พลังกงก่อเกิดเร็วไว......................... 7

7.     ฝึกพลังกงไม่คำนึงเรื่องสถานที่ เวลา
ตำแหน่งทิศ และไม่เน้น การเก็บพลังกง............................. 8

8.     มีฝ่าเซิน(ร่างฝ่า)ของข้าพเจ้าคอยคุ้มครอง
ไม่ถูกมารภายนอกคุกคาม................................................. 8


2   สาธิตกระบวนท่าการเคลื่อนไหว..................................... 10

ชุดที่ 1    ฝอ จ่าน เชียน โส่ว ฝ่า.............................................. 11

ชุดที่ 2    ฝ่า หลุน จวง ฝ่า....................................................... 25

ชุดที่ 3    ก้วน ทง เหลี่ยง จี๋ ฝ่า................................................ 32

ชุดที่ 4    ฝ่า หลุน โจว เทียน ฝ่า............................................. 39

ชุดที่ 5    เสิน ทง เจีย ฉือ ฝ่า................................................... 46




3   หลักกลไกของการเคลื่อนไหว........................................... 55

1.    พลังกงชุดที่ 1................................................................... 56

2.    พลังกงชุดที่ 2................................................................... 61

3.    พลังกงชุดที่ 3................................................................... 63

4.    พลังกงชุดที่ 4................................................................... 69

5.    พลังกงชุดที่ 5................................................................... 72

 

 


ภาคผนวก.................................................................................. 77

1.     ข้อกำหนดสำหรับศูนย์ช่วยฝึกสอนฝ่าหลุนต้าฝ่า.............. 77

2.     ข้อกำหนดสำหรับศิษย์ฝ่าหลุนต้าฝ่า
ในการเผยแพร่ฝ่าและพลังกง............................................ 79

3.     มาตรฐานของผู้ช่วยฝึกสอนฝ่าหลุนต้าฝ่า......................... 81

4.     ผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่าพึงทราบ............................................... 82


1  จุดเด่นของหลักพลังกง

 

          ฝ่าหลุนฝอฝ่า คือการบำเพ็ญปฏิบัติต้าฝ่าของสายพุทธระดับสูง โดยการหล่อหลอมจิตใจและร่างกายให้เข้ากับคุณสมบัติพิเศษของจักรวาลอันมี ความจริง-ความเมตตา-ความอดทน (เจิน ซั่น เหยิ่น) เป็นรากฐาน มีคุณสมบัติพิเศษสูงสุดของจักรวาลเป็นเครื่องชี้นำ และบำเพ็ญปฏิบัติตามหลักการผันแปรดั้งเดิมของจักรวาล สิ่งที่พวกเราบำเพ็ญนั้นคือ ต้าฝ่า ต้าเต้า (หลักธรรมใหญ่ หลักเต๋าใหญ่)

          ฝ่าหลุนฝอฝ่าเน้นโดยตรงที่จิตมนุษย์ ให้ผู้ฝึกเข้าใจอย่างแจ่มชัดว่า การบำเพ็ญปฏิบัติซินซิ่งคือหัวใจหลักของการเกิดพลังกง ระดับซินซิ่งสูงเพียงใด พลังกงสูงเพียงนั้น อันเป็นสัจธรรมแน่นอนของจักรวาล ซินซิ่งนั้นครอบคลุมถึงการแปรผันระหว่างกุศล(กุศลคือสสารสีขาวชนิดหนึ่ง) และกรรม(กรรมคือสสารสีดำชนิดหนึ่ง) รวมทั้งการสละกิเลสต่างๆของคนธรรมดาสามัญ การยึดติดต่อสิ่งใดๆ ความสามารถอดทนต่อความทุกข์ต่างๆนานา ยังครอบคลุมถึงการฝึกฝนในด้านต่างๆ อันจำเป็นต่อการบำเพ็ญเพื่อให้บรรลุระดับชั้นที่สูงขึ้น

          ฝ่าหลุนฝอฝ่ามีส่วนของการบำเพ็ญชีวิตรวมอยู่ด้วย จึงต้องฝึกกระบวนท่าการเคลื่อนไหว ของวิธีสู่ความสำเร็จสมบูรณ์ ในต้าฝ่าของสายพุทธระดับสูง กระบวนท่าการเคลื่อนไหวในด้านหนึ่งคือ การอาศัยแรงพลัง(กงลี่)อันแรงกล้ามาเสริมสร้างความสามารถ และกลไกบังคับ(จีจื้อ)ในร่างกายให้แข็งแกร่ง เพื่อบรรลุถึงขั้นฝ่าฝึกคน อีกด้านหนึ่งภายในร่างกายยังจะต้องแปรผัน และกำเนิดสิ่งมีชีวิตออกมาอีกมากมาย การบำเพ็ญปฏิบัติในระดับชั้นสูง ร่างกายจะกำเนิดกายทิพย์(หยวนอิง) ก็คือร่างพุทธ และแปรผันศาสตร์ต่างๆออกมาอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องผ่านการฝึกกระบวนท่าการเคลื่อนไหวทางมือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ความผสมผสานกลมกลืนในต้าฝ่า จึงเป็นหลักบำเพ็ญปฏิบัติธรรมที่สมบูรณ์แบบ คือวิธีบำเพ็ญปฏิบัติจิตและชีวิตที่ครบสมบูรณ์ เรียกว่า วิธีสู่ความสำเร็จสมบูรณ์ ฉะนั้นต้าฝ่านี้จึงต้องบำเพ็ญจิต และฝึกกระบวนท่าการเคลื่อนไหว กล่าวคือบำเพ็ญจิตอันดับแรก ฝึกกระบวนท่าการเคลื่อนไหวอันดับรอง ไม่บำเพ็ญซินซิ่งเพียงฝึกกระบวนท่าการเคลื่อนไหวพลังกงก็จะไม่พอกพูน เพียงบำเพ็ญจิตโดยไม่ฝึกวิธีสู่ความสำเร็จสมบูรณ์ แรงพลัง(กงลี่)จะถูกปิดกั้น ร่างแท้(เปิ๋นถี่)จะไม่เปลี่ยนแปลง

          เพื่อให้ผู้มีบุญวาสนาและผู้บำเพ็ญปฏิบัติมานานปี แต่พลังกงไม่เพิ่มพูน ให้ได้ฝ่า สามารถบำเพ็ญปฏิบัติในระดับชั้นสูงตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อช่วยเสริมสร้างแรงพลัง(กงลี่) ให้เพิ่มสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วจวบจนบรรลุความสำเร็จสมบูรณ์ ข้าพเจ้าจึงได้นำเอาต้าฝ่าของการบำเพ็ญพุทธ ซึ่งข้าพเจ้าได้บรรลุรู้แจ้งนานแสนนานมาแต่อดีตออกมาถ่ายทอด ฝ่านี้มีความประสานกลมกลืน สติปัญญาแจ่มชัด กระบวนท่าการเคลื่อนไหวเรียบง่ายไม่สับสน ต้าฝ่าเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน

          ฝ่าหลุนฝอฝ่ามีฝ่าหลุนเป็นศูนย์รวม ฝ่าหลุนเป็นสสารพลังงานสูง มีจิตวิญญาณและจะหมุนอยู่ตลอดเวลา โดยข้าพเจ้าจะใส่ให้แก่ผู้บำเพ็ญปฏิบัติที่ท้องน้อย ฝ่าหลุนจะหมุนตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีหยุด (ผู้บำเพ็ญจริง ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ดูวิดีโอเทป หรือฟังเทปการบรรยายฝ่าของข้าพเจ้า หรือเรียนฝึกท่าตามผู้ฝึกต้าฝ่าก็จะได้รับฝ่าหลุนเช่นกัน) ซึ่งจะช่วยผู้บำเพ็ญปฏิบัติโดยอัตโนมัติ กล่าวคือแม้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติไม่ได้บำเพ็ญปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ฝ่าหลุนก็ไม่หยุดยั้งที่จะฝึกคน จึงเป็นหลักบำเพ็ญปฏิบัติธรรมหนึ่งเดียวที่สามารถบรรลุถึงขั้น“ฝ่าฝึกคน” ในบรรดาหลักบำเพ็ญปฏิบัติธรรมที่มีเผยแพร่อยู่ในโลกทุกวันนี้

          การหมุนของฝ่าหลุน มีคุณสมบัติพิเศษเช่นเดียวกับคุณสมบัติของจักรวาล เพราะฝ่าหลุนคือภาพย่อส่วนของจักรวาล ฝ่าหลุนของสายพุทธ อิน-หยางของสายเต๋า สรรพสิ่งในทั่วทศทิศล้วนมีสะท้อนอยู่ในฝ่าหลุน เวลาที่ฝ่าหลุนหมุนตามเข็มนาฬิกา เป็นการดูดซับพลังงานทั้งมวลจากจักรวาล และแปรเปลี่ยนเป็นพลังกง เวลาที่ฝ่าหลุนหมุนทวนเข็มนาฬิกาเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น โดยการปล่อยพลังงานออกสู่ภายนอกเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิต ช่วยปรับแก้สภาพผิดปกติทั้งมวล ผู้อยู่ใกล้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติจะได้อานิสงส์

          ฝ่าหลุนต้าฝ่าจะช่วยผู้บำเพ็ญปฏิบัติ หล่อหลอมตัวเองให้เข้ากับคุณสมบัติพิเศษของจักรวาล ความจริง-ความเมตตา-ความอดทน (เจิน ซั่น เหยิ่น) จึงแตกต่างจากหลักพลังกงทั่วไปโดยแก่นแท้


จุดเด่นหลักๆ 8 ประการของ ฝ่าหลุนต้าฝ่า มีดังนี้

 

1.       บำเพ็ญปฏิบัติฝ่าหลุน ไม่ฝึกตาน ไม่ก่อเกิดตาน

          ฝ่าหลุนมีคุณสมบัติพิเศษเช่นเดียวกับจักรวาล เป็นสสารพลังงานสูงที่หมุนและมีจิตวิญญาณ โดยจะหมุนอยู่ตลอดเวลา ณ บริเวณท้องน้อยของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ เพื่อทำการดูดซับพลังงานทั้งมวลจาก จักรวาลและแปรเปลี่ยนเป็นพลังกง ดังนั้นบำเพ็ญปฏิบัติต้าฝ่า พลังกงจะก่อเกิดและเปิดพลังกง(ไคกง)ได้อย่างรวดเร็ว ฝ่าหลุนเป็นสิ่งที่ผู้บำเพ็ญเต๋ามานานนับพันปีคิดอยากจะได้แต่ไม่ได้ หลักพลังกงอื่นๆที่มีถ่ายทอดอยู่ในสังคมปัจจุบัน ล้วนเป็นวิธีเดินตาน เพื่อให้ก่อเกิดตานทั้งสิ้น เรียกว่าตานเต้าชี่กง สำหรับผู้บำเพ็ญปฏิบัติตานเต้าชี่กง คิดจะไคกง เปิดการรับรู้(ไคอู้) ภายในช่วงชีวิตที่มีอยู่ เป็นเรื่องที่ลำบากอย่างยิ่ง

 

2.       แม้คนไม่ได้ฝึกพลังกงอยู่ ฝ่าหลุนก็ฝึกคน

          ทุกวันผู้บำเพ็ญปฏิบัติต้องทำงาน เล่าเรียน รับประทานอาหาร นอนหลับและอื่นๆ จึงไม่สามารถจะฝึกพลังกงอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ฝ่าหลุนจะไม่หยุดหมุน จะช่วยผู้บำเพ็ญปฏิบัติฝึกพลังกงอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง จึงก่อเกิดเป็นรูปแบบของคนไม่ได้ฝึกพลังกงอยู่ตลอดเวลา แต่ฝ่าหลุนก็ไม่หยุดที่จะฝึกคน พูดโดยสรุปว่าแม้คนไม่ได้ฝึกพลังกงอยู่ ฝ่าก็ฝึกคน

          ในบรรดาหลักพลังกงต่างๆ ที่ถ่ายทอดออกมาในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ ไม่มีผู้ใดสามารถแก้ปัญหา ความขัดแย้งในเรื่องเวลาทำงานกับเวลาฝึกพลังกง มีเพียงฝ่าหลุนต้าฝ่าเท่านั้นที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ จึงเป็นหลักพลังกงหนึ่งเดียว ที่สามารถบรรลุถึงขั้นฝ่าฝึกคน

 

3.       บำเพ็ญปฏิบัติจิตสำนึกหลัก ตัวเองได้พลังกง

          ฝ่าหลุนต้าฝ่า เน้นการบำเพ็ญปฏิบัติจิตสำนึกหลักโดยตรง ให้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติบำเพ็ญจิตของตัวเอง ด้วยความกระจ่างแจ้ง ปล่อยวางความยึดติดทั้งมวล ยกระดับซินซิ่งของตัวเองให้สูงขึ้น ในขณะฝึกพลังกงตามวิธีสู่ความสำเร็จสมบูรณ์ ผู้ฝึกต้องไม่เข้าสู่ภวังค์ หรือไม่รู้สึกตัว จิตสำนึกหลักต้องคอยควบคุมการฝึกพลังกงของตัวเองอยู่ตลอดเวลา พลังกงที่ฝึกออกมาจะก่อเกิดในร่างกายตัวเอง ตัวเองได้พลังกง ตัวเองสามารถนำพลังกงติดตัวไปได้ คุณค่าของฝ่าหลุนต้าฝ่าอยู่ตรงที่ตัวเองได้พลังกง

          เป็นเวลานานนับสิบล้านปีมา หลักพลังกงอื่นที่เผยแพร่อยู่ในหมู่คนธรรมดาสามัญ ล้วนแต่เป็นการบำเพ็ญจิตสำนึกรอง โดยกายเนื้อของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ และจิตสำนึกหลักเป็นเพียงพาหะ เมื่อบรรลุความสำเร็จสมบูรณ์ จิตสำนึกรองก็บำเพ็ญขึ้นไป และนำเอาพลังกงติดตัวจากไป จิตสำนึกหลักและร่างแท้(เปิ๋นถี่)ของผู้บำเพ็ญปฏิบัติจะไม่ได้อะไร แม้บำเพ็ญปฏิบัติมาชั่วชีวิตพลังกงก็สูญสิ้น แน่นอนในเวลาที่จิตสำนึกหลักบำเพ็ญปฏิบัติ จิตสำนึกรองก็จะได้พลังกงส่วนหนึ่งด้วย และจะพลอยยกระดับขึ้นไปด้วยโดยอัตโนมัติ

 

4.       บำเพ็ญทั้งจิตและชีวิต

          การบำเพ็ญจิตในฝ่าหลุนต้าฝ่า หมายถึงการบำเพ็ญซินซิ่ง เน้นการบำเพ็ญซินซิ่งเป็นอันดับแรก เชื่อมั่นว่าซินซิ่งคือหัวใจหลักของการเพิ่มพลังกง กล่าวคือระดับชั้นของพลังกง มิได้กำหนดด้วยการฝึก แต่ด้วยการบำเพ็ญซินซิ่ง ซินซิ่งสูงเพียงใดพลังกงก็สูงเพียงนั้น ซินซิ่งตามที่กล่าวในฝ่าหลุนต้าฝ่า ครอบคลุมขอบเขตกว้างกว่าเต๋อ(กุศล) ครอบคลุมเต๋อ(กุศล)ในความหมายทุกๆด้าน

การบำเพ็ญชีวิตในฝ่าหลุนต้าฝ่า หมายถึงหนทางของการมีชีวิตยืนยาว เปลี่ยนแปลงร่างแท้(เปิ๋นถี่)ผ่านการฝึกพลังกง ไม่ละทิ้งร่างแท้(เปิ๋นถี่) จิตสำนึกหลักประสานเป็นหนึ่งเดียวกับกายเนื้อ บำเพ็ญสำเร็จครบถ้วนบริบูรณ์ บำเพ็ญชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของโมเลกุลในร่างกายคนจากรากเหง้า องค์ประกอบของเซลล์ ถูกทดแทนด้วยสสารพลังงานสูง เป็นร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยสสารของมิติอื่น คนๆนี้ก็จะคงความหนุ่มแน่นตลอดไป แก้ไขปัญหาจากรากเหง้า ฝ่าหลุนต้าฝ่าจึงเป็นฝ่าของการบำเพ็ญ จิตและชีวิตอย่างแท้จริง

 

5.       หลักพลังกง 5 ชุด เรียบและง่ายแก่การฝึก

          ต้าฝ่าเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน พิจารณาจากมหภาค ฝ่าหลุนต้าฝ่ามีกระบวนท่าการเคลื่อนไหวน้อย แต่สิ่งที่ได้จากการฝึกนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน ควบคุมร่างกายทุกส่วนและสิ่งต่างๆที่จะต้องบำเพ็ญปฏิบัติออกมา ผู้บำเพ็ญปฏิบัติจะได้รับการสอนกระบวนท่าพลังกงทั้ง 5 ชุดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนต่างๆในร่างกายของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ จุดที่พลังงานไหลเวียนไม่สะดวก จะถูกทะลวงให้เปิดออกในทันที เพื่อดูดซับพลังงานจำนวนมหาศาลจากจักรวาล และถ่ายเทเอาของเสียออกจากร่างกาย ภายในระยะเวลาอันสั้น ชำระร่างกาย ยกระดับชั้น เพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์ เข้าสู่สภาวะร่างขาวสะอาด พลังกง 5 ชุดนี้เหนือกว่าวิชาทั่วไป ซึ่งเน้นการเดินลมปราณทางชีพจรหรือโจวเทียน (วงจรสวรรค์) ใหญ่ และเล็ก อีกทั้งเป็นวิชาบำเพ็ญปฏิบัติธรรม ที่ให้ความสะดวกแก่ผู้บำเพ็ญปฏิบัติมากที่สุด ได้ผลเร็วที่สุด ดีที่สุด และก็ยากที่สุด

 

6.       ไม่มีความนึกคิด(อี้เนี้ยน) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง พลังกงก่อเกิดเร็วไว

          การบำเพ็ญปฏิบัติฝ่าหลุนต้าฝ่าต้องไม่นึกคิดสิ่งใด ไม่อาศัยความนึกคิดชี้นำ การบำเพ็ญปฏิบัติฝ่าหลุนต้าฝ่าจึงปลอดภัย ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ฝ่าหลุนจะคอยคุ้มครองไม่ให้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติออกนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกรบกวนจากผู้มีซินซิ่งต่ำ อีกทั้งสามารถช่วยปรับแก้สภาพความผิดปกติทั้งปวงโดยอัตโนมัติ

          ผู้บำเพ็ญปฏิบัติยืนอยู่ ณ ระดับชั้นที่สูงมาก ขอเพียงสามารถอดทนในทุกข์แห่งทุกข์ สามารถอดทนในเรื่องที่ยากแก่การอดทน สามารถควบคุมซินซิ่ง แน่วแน่บำเพ็ญจริงในวิชาเดียว ภายในไม่กี่ปีก็จะสามารถบรรลุถึงระดับ“ซัน ฮวา จวี่ ติ่ง” ซึ่งเป็นระดับชั้นสูงสุดของการบำเพ็ญปฏิบัติฝ่าในภพ (ซื่อเจียนฝ่า)

 

7.       ฝึกพลังกงไม่คำนึงเรื่องสถานที่ เวลา ตำแหน่งทิศ และไม่เน้นการเก็บพลังกง

          ฝ่าหลุนคือภาพย่อส่วนของจักรวาล จักรวาลหมุนอยู่ แต่ละระบบดาวโคจรอยู่ โลกก็หมุนรอบตัวเองอยู่ ไม่มีการแบ่งทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศเหนือ ผู้บำเพ็ญปฏิบัติฝ่าหลุนต้าฝ่า ฝึกตามคุณสมบัติพิเศษของจักรวาล ฝึกตามหลักการแปรผันของจักรวาล ดังนั้นไม่ว่าจะหันหน้าไปทางทิศใด ก็เท่ากับหันไปทั่วทุกทิศ เนื่องจากฝ่าหลุนหมุนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีทัศนะด้านเวลา จึงสามารถฝึกได้ทุกเวลา และเพราะว่าฝ่าหลุนหมุนไม่หยุด ผู้บำเพ็ญปฏิบัติก็ไม่สามารถจะหยุดการหมุนของฝ่าหลุน จึงไม่มีความคิดเรื่องการเก็บพลังกง มีแต่เก็บท่า ไม่เก็บพลังกง

 

8.       มีฝ่าเซิน(ร่างฝ่า)ของข้าพเจ้าคอยคุ้มครอง ไม่ถูกมารภายนอกคุกคาม

          การที่คนธรรมดาสามัญคนหนึ่ง ได้รับสิ่งที่อยู่ในระดับชั้นสูง อย่างกระทันหันเป็นเรื่องอันตราย ชีวิตจะถูกคุกคามในทันที ผู้บำเพ็ญปฏิบัติ หลังจากได้รับการถ่ายทอดฝ่าหลุนต้าฝ่าจากข้าพเจ้าแล้ว บำเพ็ญอย่างจริงจัง ก็จะมีฝ่าเซินของข้าพเจ้าคอยคุ้มครอง ขอเพียงท่านยึดมั่นบำเพ็ญปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่ ฝ่าเซินก็จะคอยคุ้มครอง จวบจนท่านบรรลุความสำเร็จสมบูรณ์ หากท่านละทิ้งการบำเพ็ญปฏิบัติกลางคัน ฝ่าเซินของข้าพเจ้าก็จะจากไปโดยอัตโนมัติ

          มีคนจำนวนมากไม่กล้าถ่ายทอดหลักธรรมชั้นสูง เพราะพวกเขาไม่สามารถรับผิดชอบต่อภาระนี้ สวรรค์ก็ไม่อนุญาต ฝ่าหลุนต้าฝ่าเป็นฝ่าถูกต้อง ขอเพียงผู้บำเพ็ญปฏิบัติควบคุมซินซิ่งตามข้อกำหนดในต้าฝ่า ขจัดจิตยึดติด ละวางการแสวงหาอันไม่ถูกต้องต่อสิ่งใดๆ ในระหว่างการบำเพ็ญปฏิบัติ ธรรมะย่อมชนะอธรรม สิ่งชั่วร้ายย่อมกลัวท่าน ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยกระดับของท่าน ล้วนไม่กล้าคุกคามท่าน จึงพูดได้ว่าฝ่าหลุนต้าฝ่านั้น แตกต่างทางทฤษฎีโดยสิ้นเชิงจากหลักบำเพ็ญปฏิบัติธรรมทั่วไปที่สืบทอดกันมา แตกต่างจากทฤษฎีฝึกตานของแต่ละสาย แต่ละสำนัก

          ฝ่าหลุนต้าฝ่าแบ่งการบำเพ็ญปฏิบัติออกเป็น ฝ่าในภพ(ซื่อเจียนฝ่า) และฝ่านอกภพ(ชูซื่อเจียนฝ่า)ต่างๆหลายระดับชั้น การบำเพ็ญปฏิบัติมีจุดเริ่มต้น ณ ระดับที่สูงมาก เพื่อเปิดทางสะดวกให้แก่ผู้บำเพ็ญปฏิบัติ และผู้บำเพ็ญปฏิบัติมานานปีแต่พลังกงไม่พอกพูน เมื่อแรงพลัง(กงลี่)และซินซิ่งของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ บรรลุถึงระดับชั้นที่กำหนด ก็จะบำเพ็ญปฏิบัติบรรลุร่างวชิระ(จินกัง)อันไม่เสื่อมสลายในภพโดยแท้จริง พลังกงเปิด(ไคกง) การรับรู้เปิด(ไคอู้) และบรรลุระดับชั้นสูง อย่างบริบูรณ์ ผู้มีปณิธานยิ่งใหญ่เรียนรู้ฝ่าถูกต้อง ได้มรรคผล(เจิ้งกั่ว) ยกระดับซินซิ่ง สละความยึดติด จึงจะบรรลุความสำเร็จสมบูรณ์

 

หลี่ หงจื้อ


 

 

 

2

  

สาธิตกระบวนท่าการเคลื่อนไหว
ชุดที่ 1.       ฝอ จ่าน เชียน โสว ฝ่า

หลักการ หัวใจของชุดฝอจ่านเชียนโสวฝ่า (พระพุทธพันมือ) อยู่ที่การยืดเพื่อเปิดทะลวงจุดที่พลังงานเดินติดขัด ปรับพลังงานในร่างกายและใต้ผิวให้ไหลเวียนอย่างแรงกล้า ทำการดูดซับพลังงานจำนวนมากจากจักรวาลโดยอัตโนมัติ ทำให้ชีพจรทั้งหมดของผู้บำเพ็ญปฏิบัติเปิดออกในทันที เวลาฝึกชุดนี้จะรู้สึกร้อนไปทั่วร่างกาย รู้สึกสัมผัสถึงการคงอยู่ของสนามพลังงานอันแรงกล้า ซึ่งเกิดขึ้นเพราะทางเดินของพลังงานทั่วร่างกายได้ถูกเปิดทะลวง ชุดฝอจ่านเชียนโสวฝ่า มี 8 กระบวนท่าซึ่งเรียบง่าย แต่ ณ ระดับมหภาคชุดนี้จะควบคุมสิ่งต่างๆมากมาย ที่ฝึกออกมาจากวิธีบำเพ็ญปฏิบัติทั้งหมด ขณะเดียวกันยังสามารถนำผู้บำเพ็ญปฏิบัติ เข้าสู่สภาวะในสนามพลังงานอย่างรวดเร็ว ให้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติใช้ชุดนี้เป็นกระบวนท่าการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการฝึก ทุกครั้งที่ฝึกพลังกงโดยทั่วไปให้ฝึกชุดนี้ก่อน พลังกงชุดนี้เป็นวิธีบำเพ็ญปฏิบัติประเภทสร้างความแข็งแกร่ง

 

เซิน    เสิน    เหอ    อี

ต้ง      จิ้ง      สุย      จี

ติ่ง      เทียน  ตู๋        จุน

เชียน  โส่ว    ฝอ      ลี่

 

ท่าเตรียม     แยกเท้าทั้งสองออกระยะห่างเท่าไหล่ ยืนให้เป็นธรรมชาติ สองขาหย่อนเล็กน้อย เข่าและสะโพกอยู่ในท่าลื่นไถล ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน ผ่อนคลายแต่ไม่หย่อนยาน ดึงคางลงเล็กน้อย 

 

 

 

 

 

 

ลิ้นแตะเพดานปาก เผยอฟันออกจากกันเล็กน้อย หุบริมฝีปากและหลับตาลงเบาๆ นึกถึงความสงบ สีหน้าแจ่มใส

 

เหลียง โส่ว เจี๋ย อิ้ง

          ยกสองมือขึ้น ฝ่ามือทั้งสองข้างหันขึ้นข้างบน นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างแตะกันเบาๆ นิ้วที่เหลือทั้ง 4 แนบชิดและซ้อนกัน ชายมือซ้ายอยู่บนมือขวา หญิงมือขวาอยู่บนมือซ้าย ให้มืออยู่ในลักษณะทรงกลมรี ณ ตำแหน่งท้องน้อย ยกแขนออกไปข้างหน้าเล็กน้อย กางข้อศอกทั้งสองข้างขึ้น รักแร้เปิดออก (ภาพ 1-1)

 

 

 

 

หมี เล่อ เซิน เอียว

          เริ่มจากท่าเจี๋ยอิ้ง (สองมือประสาน) ค่อยๆยกมือที่ประสานขึ้น เมื่อมือขึ้นถึงด้านหน้าของศีรษะ คลายมือจากเจี๋ยอิ้ง แล้วหันฝ่ามือขึ้นด้านบน เมื่อมือขึ้นถึงเหนือศีรษะหมุนฝ่ามือหงายขึ้นข้างบน ให้สิบนิ้วมือชี้ตรงกัน ระยะห่างของปลายนิ้ว 20 - 30 .. (ภาพ 1-2) ขณะเดียวกันให้ยืดข้อมือขึ้นบน ยืดศีรษะขึ้นบน สองเท้าเหยียบลงกับพื้น ออกแรงยืดร่างกายทุกส่วนประมาณ 2 - 3 วินาที แล้วผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนอย่างฉับพลันทันที เข่าและสะโพกกลับสู่ลักษณะลื่นไถลตามเดิม


 

 

 

               

 

 

 

หยู ไหล ก้วน ติ่ง

          ต่อจากท่าก่อน (ภาพ 1-3) หมุนฝ่ามือทั้งสองออกข้างนอกพร้อมกัน ทำเป็นรูปทรงกรวยราว 140 องศา ยืดข้อมือและเคลื่อนฝ่ามือลงมา (ภาพ 1-3) ฝ่ามือทั้งสองหันเข้าหาอก ระยะฝ่ามือกับหน้าอกห่างกันไม่เกิน 10 .. เคลื่อนต่อลงมาจนถึงระดับท้องน้อย (ภาพ 1-4)


 

 

 

 

 

 

ซวง โส่ว เหอ สือ

          หลังจากมือทั้งสองลงมาถึงระดับท้องน้อย หันหลังมือให้ตรงกัน แล้วยกสองมือขึ้นมาเหอสือ(พนมมือ)ที่หน้าอก (ภาพ 1-5) เวลาเหอสือนิ้วและฐานฝ่ามือให้แนบสนิทกัน กลางฝ่ามือเป็นโพรง กางข้อศอกขึ้น ปลายแขนทั้งสองเป็นเส้นตรง (ยกเว้นเวลาเหอสือ และเจี๋ยอิ้ง สองมือคงอยู่ในท่าฝ่ามือดอกบัวตลอด)


 

 

 

                 

 

 

จ๋าง จื่อ เฉียน คุน

จากท่าเหอสือ แยกมือทั้งสองออกประมาณ 2 - 3 .. (ภาพ 1-6) หมุนฝ่ามือพร้อมกัน มือซ้าย(สำหรับชาย) หรือ มือขวา(สำหรับหญิง) หันเข้าหาอก มือขวาหันออกด้านนอก มือซ้ายอยู่ด้านบน มือขวาอยู่ด้านล่าง ปลายแขนเรียบเป็นแนวตรง แล้วเหยียดแขนซ้ายเฉียงขึ้นไปทางด้านซ้ายบน (ภาพ 1-7) ให้มืออยู่ระดับศีรษะและหันฝ่ามือลงด้านล่าง มือขวาอยู่ตรงแนวอกฝ่ามือหันขึ้น เมื่อมือซ้ายถึงตำแหน่งแล้ว

 

 

 

 

                

 

 

 

ยืดศีรษะขึ้นบน สองเท้าเหยียบลงกับพื้น ออกแรงยืดทั้งตัวประมาณ 2 - 3 วินาที แล้วผ่อนคลายทั้งร่างกายอย่างฉับพลันทันที แขนซ้ายกลับไปเหอสือกับมือขวาที่หน้าอก (ภาพ 1-5) จากนั้นก็หมุนฝ่ามืออีกครั้งให้มือขวามาอยู่ด้านบน มือซ้ายอยู่ด้านล่าง (ภาพ 1-8) เคลื่อนมือขวาเช่นเดียวกับมือซ้าย (ภาพ 1-9) ยืดแล้วผ่อนคลายร่างกาย เก็บมือกลับไปเหอสือที่หน้าอก

 

 

 

 

 

จิน โหว เฟิน เซิน

          จากท่าเหอสือ กางแขนทั้งสองออกไปด้านข้างตามแนวไหล่เป็นเส้นตรง ยืดศีรษะขึ้นบน สองเท้าเหยียบลงกับพื้น ออกแรงยืดสองแขนออกสองข้าง ยืดออกทั้ง 4 ทิศจนสุด (ภาพ 1-10) ออกแรงยืดทั้งตัวประมาณ 2 - 3 วินาที แล้วผ่อนคลายทั่วร่างทันที สองมือเหอสือ


 

 

 

 

 

 

ซวง หลง เซี่ย ไห่

          จากท่าเหอสือ ค่อยๆแยกมือทั้งสองออกแล้วเหยียดแขนลงไปด้านหน้าของลำตัว เมื่อสองแขนแยกออกขนานกัน เมื่อเหยียดตรงจะทำมุมประมาณ 30 องศากับลำตัว (ภาพ 1-11) ยืดศีรษะขึ้นบน สองเท้าเหยียบลงกับพื้น ออกแรงยืดทั้งตัวประมาณ 2 - 3 วินาที แล้วผ่อนคลายทั้งตัวอย่างฉับพลันทันที เก็บสองแขนกลับสู่ท่าเหอสือที่หน้าอก


 

 

 

 

 

 

ผู ซ่า ฝู เหลียน

          จากท่าเหอสือ ค่อยๆแยกมือออก เคลื่อนสองมือลงด้านข้างของลำตัว เหยียดแขนทำมุม 30 องศากับด้านข้างของลำตัว (ภาพ 1-12) แล้วยืดศีรษะขึ้นบน สองเท้าเหยียบลงกับพื้น ออกแรงยืดทั้งตัวอย่างเต็มแรง 2 - 3 วินาทีแล้วผ่อนคลายทั้งตัวอย่างฉับพลันทันที สองมือกลับสู่ท่าเหอสือที่หน้าอก


 

 

 

 

 

หลัว ฮั่น เปย ซัน

          (เหมือนภาพ 1-13) จากท่าเหอสือ แยกสองมือออกแล้วเคลื่อนมือไปด้านหลัง พร้อมกับหันฝ่ามือไปด้านหลัง เมื่อสองมือไปถึงข้างลำตัว ค่อยๆงอข้อมือขึ้น เมื่อไปถึงด้านหลังลำตัว หักข้อมือเป็น 45 องศา หลังจากมือไปถึงตำแหน่งแล้ว ยืดศีรษะขึ้นบน สองเท้าเหยียบลงกับพื้น ออกแรงยืดทั้งตัว (ตั้งลำตัวให้ตรง ไม่เอนไปข้างหน้า ออกแรงตรงหน้าอก) ราว 2 - 3 วินาที แล้วผ่อนคลายทั้งตัวอย่างฉับพลันทันที เก็บมือกลับสู่ท่าเหอสือที่หน้าอก

 

 

 

 

 

 

 

จิน กัง ไผ ซัน

          จากท่าเหอสือ แยกมือทั้งสองออกแล้วดันไปข้างหน้า นิ้วชี้ขึ้นด้านบน สูงเท่าระดับไหล่ หลังจากที่ยืดแขนตรงแล้ว ยืดศีรษะขึ้นบน สองเท้าเหยียบลงกับพื้น (ภาพ 1-14) ออกแรงยืดทั้งตัวราว 2 - 3 วินาที ผ่อนคลายทั้งตัวอย่างฉับพลันทันที สองมือเหอสือ


 

 

 

 

 

เตี๋ย โค่ว เสียว ฝู่

          จากท่าเหอสือ เคลื่อนสองมือลงข้างล่างช้าๆ พร้อมกับหันฝ่ามือเข้าหาหน้าท้องน้อย เมื่อมือลงมาถึงตำแหน่ง ไขว้สองมือซ้อนกัน (ภาพ 1-15) ชายมือซ้ายอยู่ด้านใน หญิงมือขวาอยู่ด้านใน กลางฝ่ามือหนึ่งหันเข้าหา หลังมือของอีกมือ จัดระยะห่างระหว่างมือและมือกับท้องน้อย ประมาณ 3 .ม ท่าเตี๋ยโค่วเสียวฝู่ โดยทั่วไปใช้เวลา 40 - 100 วินาที


 

 

 

 

 

 

เก็บท่า: สองมือเจี๋ยอิ้ง (ภาพ 1-16)


ชุดที่ 2.         ฝ่า หลุน จวง ฝ่า

หลักการ ชุดฝ่าหลุนจวงฝ่า จัดเป็นการยืนปักหลักทำสมาธิ ประกอบด้วยกระบวนท่าอุ้มฝ่าหลุน 4 ท่า ฝึกฝ่าหลุนจวงฝ่าบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายของผู้บำเพ็ญปฏิบัติเชื่อมต่อถึงกันทั่วร่าง เป็นวิธีบำเพ็ญที่ครอบคลุมครบถ้วน ปัญญาก่อเกิด เพิ่มพูนพละกำลัง ยกระดับชั้นและเพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์ กระบวนท่าการเคลื่อนไหวค่อนข้างเรียบง่าย แต่สิ่งต่างๆที่ได้จากการฝึกนั้นมากมาย ครบทุกด้าน ผู้บำเพ็ญปฏิบัติฝึกฝ่าหลุนจวงฝ่า ในระยะแรกจะรู้สึกหนัก และเมื่อยสองแขนอย่างมาก หลังจากฝึกเสร็จจะไม่รู้สึกเมื่อยล้าเหมือนคนผ่านการออกแรง แต่จะรู้สึกว่าร่างกายเบาสบายทั้งตัว เมื่อยืดเวลาฝึกให้ยาวขึ้น และเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น จะรู้สึกว่าหว่างแขนมีฝ่าหลุนหมุนอยู่ เวลาฝึกฝ่าหลุนจวงฝ่า กระบวนท่าต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ไหวตัวไปมาอย่างตั้งใจ การไหวน้อยๆเป็นเรื่องปกติ หากเกิดการไหวแรงต้องควบคุมเอาไว้ เวลาของการอุ้มฝ่าหลุนยิ่งนานยิ่งดี แต่ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละคน เมื่อเข้าสู่สมาธิแล้ว ให้รู้ตัวว่ากำลังฝึกพลังกงอยู่

 

เซิน    ฮุ่ย      เจิง     ลี่

หยง    ซิน     ชิง      ถี่

ซื่อ     เมี่ยว   ซื่อ     อู้

ฝ่า      หลุน   ชู        ฉี่

 

         

 

 

 

 

 

 

สองมือเจี๋ยอิ้ง (ภาพ 2-1)

 

ท่าเตรียม แยกเท้าทั้งสองออกระยะห่างเท่าไหล่ ยืนให้เป็นธรรมชาติ สองขาหย่อนเล็กน้อย เข่าและสะโพกอยู่ในท่าลื่นไถล ผ่อนคลายทั่วร่างแต่ไม่หย่อนยาน ดึงคางลงเล็กน้อย ลิ้นแตะเพดานปาก และเผยอฟันออกจากกันเล็กน้อย หุบริมผีปาก หลับตาลงเบาๆ นึกถึงความสงบ สีหน้าแจ่มใส


 

 

 

 

 

 

 

โถว เฉียน เป้า หลุน (อุ้มหลุนหน้าศีรษะ)

          จากท่าเจี๋ยอิ้ง ยกสองมือจากระดับท้องน้อยขึ้นช้าๆ แล้วคลายมือจากเจี๋ยอิ้ง เมื่อสองมือขึ้นถึงหน้าศีรษะ ให้ฝ่ามือด้านในทั้งสองอยู่ตรงข้ามใบหน้าในระดับคิ้ว (ภาพ 2-2) นิ้วทั้งสิบชี้ตรงกัน ระยะห่างประมาณ 15 .. สองแขนโอบเป็นทรงกลม ผ่อนคลายทั้งตัว


 

 

 

 

 

 

 

ฝู่ เฉียน เป้า หลุน (อุ้มหลุนหน้าท้องน้อย)

          จากตำแหน่งอุ้มหลุนหน้าศีรษะ ค่อยๆลดระดับแขนลงมาท่วงท่าคงเดิม ลงมาถึงหน้าท้องน้อย (ภาพ 2-3) ยกข้อศอกทั้งสองข้างขึ้นเล็กน้อย เปิดรักแร้ออก ฝ่ามือหันขึ้นด้านบน ปลายนิ้วทั้งสิบชี้ตรงกัน สองแขนโอบเป็นทรงกลม


 

 

 

 

 

 

 

โถว ติ่ง เป้า หลุน (อุ้มหลุนเหนือศีรษะ)

          จากตำแหน่งอุ้มหลุนหน้าท้องน้อย ท่วงท่าคงเดิม ค่อยๆยกสองมือขึ้นไปเหนือศีรษะอย่างช้าๆ อุ้มหลุนไว้เหนือศีรษะ (ภาพ 2-4) สิบนิ้วชี้ตรงกัน ฝ่ามือคว่ำลง ระยะห่างระหว่างนิ้วประมาณ 20 - 30 .. สองแขนโอบเป็นทรงกลม ผ่อนคลาย ไหล่ แขน ข้อศอก ข้อมือ


 

 

 

 

 

 

 

เหลี่ยง เช่อ เป้า หลุน (อุ้มหลุนไว้สองข้าง)

          จากตำแหน่งอุ้มหลุนเหนือศีรษะ ค่อยๆลดระดับสองมือลงถึงสองข้างของศีรษะ (ภาพ 2-5) ฝ่ามือทั้งสองข้างหันเข้าหาใบหูทั้งสอง ผ่อนคลายไหล่ทั้งสองข้าง ปลายแขนตั้งตรง เว้นระยะห่างระหว่างมือและใบหู ไม่ให้ชิดกันมากนัก


 

 

 

               

 

 

 

 

          เตี๋ย โค่ว เสียว ฝู่ (ภาพ 2-6) จากตำแหน่งอุ้มหลุนไว้สองข้าง ลดสองแขนลงมาที่หน้าท้องน้อย ทำท่าเตี๋ยโค่ว

 

สองมือเจี๋ยอิ้ง เก็บท่า (ภาพ 2-7)

 


ชุดที่ 3.         ก้วน ทง เหลี่ยง จี๋ ฝ่า

หลักการ ชุดก้วนทงเหลี่ยงจี๋ฝ่า (ทะลวงสุดสองขั้วจักรวาล) เป็นวิธีผสมผสานและแลกเปลี่ยน พลังงานจากจักรวาลกับพลังงานในร่างกาย เวลาฝึกพลังกงชุดนี้ จะมีการถ่ายเทและรับพลังงานเข้าเป็นปริมาณมาก สามารถช่วยผู้บำเพ็ญปฏิบัติบรรลุเป้าหมายการชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ในระยะเวลาอันสั้น ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยไคติ่ง(เปิดศีรษะ) และเปิดทะลวงช่องทางเดินใต้ฝ่าเท้า ในระหว่างทำชง-  ก้วน (ประคองขึ้น-กรอกลง) พลังงานในร่างกายจะเดินขึ้นลงตามการเคลื่อนไหวของมือ โดยพลังงานที่ชงขึ้น(ประคองขึ้น) จะวิ่งทะลุศีรษะออกไปยังสุดขั้วเหนือของจักรวาล และพลังงานที่ก้วนลง(กรอกลง) จะวิ่งทะลุใต้ฝ่าเท้าออกไปสุดขั้วใต้ของจักรวาล เมื่อพลังงานหวนกลับมาจากสองขั้ว ก็จะวิ่งออกไปยังทิศตรงข้าม กลับไปกลับมา รวม 9 ครั้ง

          เสร็จจากกระบวนท่าตานโส่วชงก้วน (มือเดียวประคองขึ้น และกรอกลง) 9 ครั้ง ให้ต่อด้วยซวงโส่วชงก้วน (สองมือประคองขึ้น และกรอกลง)พร้อมกันอีก 9 ครั้ง จากนั้นสองมือลงมาที่หน้าท้องน้อย หมุนฝ่าหลุนตามเข็มนาฬิกา 4 รอบ หมุนเอาพลังงานนอกร่างกายกลับเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเจี๋ยติ้งอิ้ง และเก็บท่า

          ก่อนฝึกพลังกงก้วนทงเหลี่ยงจี๋ฝ่า ให้คิดว่าตัวเองเป็นกระบอกไผ่ที่สูงและใหญ่ 2 ลำ สูงเทียมฟ้ายืนอยู่บนดิน สูงใหญ่ไร้เทียมทาน จะมีประโยชน์ต่อการไหลเวียนของพลังงาน


 

 

จิ้ง      ฮั่ว      เปิ๋น    ถี่

ฝ่า      ไค      ติ๋ง      ตี่

ซิน     ฉือ      อี้        เหมิ่ง

ทง      เทียน   เช่อ     ตี้

 

 

 

 

 

 

 

 

ท่าเตรียม แยกเท้าระยะกว้างเท่าไหล่ ยืนตามธรรมชาติ สองขาหย่อนเล็กน้อย เข่าและสะโพกอยู่ในท่าลื่นไถล ผ่อนคลายทั่วร่างแต่ไม่หย่อนยาน ดึงคางลงเล็กน้อย ลิ้นแตะเพดานปาก เผยอฟันออกจากกันเล็กน้อย หุบริมฝีปาก และหลับตาลงเบาๆ นึกถึงความสงบ สีหน้าแจ่มใส


 

 

 

                  

 

 

“สองมือเจี๋ยอิ้ง” (ภาพ 3-1)

 

“สองมือเหอสือ” (ภาพ 3-2)

 

 

 

 

 

 

 

                

 

ตาน โส่ว ชง-ก้วน (มือเดียวชงก้วน)

          จากท่าเหอสือ เคลื่อนมือหนึ่งขึ้นและอีกมือหนึ่งลง มือเคลื่อนไปตามกลไกชี่(ชี่จี) นอกร่างกายอย่างเบาๆ ด้วยการเคลื่อนไหวของมือนี้ พลังงานในร่างกายจะวิ่งขึ้นลงตามการเคลื่อนไหวของมือ (ภาพ 3-3) ชายมือซ้ายขึ้นก่อน หญิงมือขวาขึ้นก่อน มือชงขึ้นจากด้านข้างศีรษะอย่างเบาๆ ขึ้นไปเหนือศีรษะ ขณะเดียวกันมือขวา (หญิงซ้าย) กรอกเบาๆลงมา มืออีกข้างหนึ่งเคลื่อนสลับกันทำชงก้วน (ภาพ 3-4) หันฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าหาลำตัว ห่างจากลำตัวไม่เกิน 10 .. ผ่อน-

 

 

 

             

 

คลายทั่วร่าง การเคลื่อนมือขึ้นและลงถือเป็นหนึ่งครั้ง ชงก้วน ทั้งหมด 9 ครั้ง

 

ซวง โส่ว ชง-ก้วน (สองมือชงก้วน)

          เมื่อมือเดียวชงก้วน ทำครบแล้ว ชายมือซ้าย (หญิงมือขวา) คอยอยู่ด้านบน เคลื่อนมืออีกข้างขึ้นไป ก็คือสองมือจะอยู่ ณ ตำแหน่งชง (ภาพ 3-5) จากนั้นสองมือก้วนลงมาพร้อมกัน(ภาพ 3-6)

          เวลาทำสองมือชงก้วน ให้ฝ่ามือหันเข้าหาลำตัว ห่างจากลำตัวไม่เกิน 10 .. การยกขึ้นและลงให้นับเป็น 1 ครั้ง ทำชงก้วน 9 ครั้ง


 

 

 

                

 

 

ซวง โส่ว ทุย ต้ง ฝ่า หลุน (สองมือหมุนฝ่าหลุน)

          เมื่อจบท่าสองมือชงก้วน 9 ครั้ง เคลื่อนสองมือผ่านศีรษะ หน้าอก ลงมายังหน้าท้องน้อย (ภาพ 3-7) เมื่อสองมือลงมาถึงท้องน้อย สองมือหมุนฝ่าหลุน ณ ตำแหน่งท้องน้อย (ภาพ 3-8 และ 3-9) โดยชายมือซ้าย หญิงมือขวาอยู่ด้านใน กะระยะห่างของมือทั้งสอง และมือกับท้องน้อยประมาณ 2 - 3 .. หมุนฝ่าหลุนตามเข็มนาฬิกา 4 รอบ เพื่อหมุนเอาพลังงานที่มีอยู่นอกร่างกายกลับเข้าสู่ร่างกาย เวลาหมุนฝ่าหลุน สองมือต้องไม่ออกนอกเกินบริเวณท้องน้อย


 

 

 

 

 

 

เก็บท่า: สองมือเจี๋ยอิ้ง (ภาพ 3-10)

 


ชุดที่ 4.         ฝ่า หลุน โจว เทียน ฝ่า

หลักการ ชุดฝ่าหลุนโจวเทียนฝ่า (ฝ่าหลุนวงจรสวรรค์) จะช่วยให้พลังงานในร่างกายคนหมุนเวียนในพื้นที่กว้าง ไม่ใช่การเดินของชีพจรเพียงหนึ่งหรือไม่กี่เส้น แต่หมุนเวียนจากด้านอินของร่างกาย ทั่วทั้งด้านไปจรดด้านหยางของร่างกาย หมุนเวียนกลับไปกลับมาไม่หยุด ซึ่งเหนือกว่าวิธีทะลวงทางเดินชีพจรทั่วไปหรือวิชาโจวเทียนใหญ่หรือโจวเทียนเล็ก พลังกงฝ่าหลุนโจวเทียนฝ่าเป็นการบำเพ็ญปฏิบัติในระดับกลาง มีพื้นฐานระดับเดียวกับพลังกง 3 ชุดก่อน การฝึกกระบวนท่าการเคลื่อนไหวของพลังกงชุดนี้ จะช่วยให้ทางเดินชีพจรทั่วร่างกายเปิดออก (รวมทั้งโจวเทียนใหญ่) ร่างกายเปิดโล่ง พลังงานค่อยๆเดิน จากบนลงล่าง และวนไปทั่วร่างกาย จุดที่เด่นที่สุดของพลังกงฝ่าหลุนโจวเทียนฝ่าคือ ใช้การหมุนของฝ่าหลุนมาช่วยปรับแก้ สภาพผิดปกติของร่างกายคน ให้ร่างกายอันเป็นจักรวาลน้อย กลับคืนสู่สภาพดั้งเดิม ทำให้ทางเดินชีพจรทั่วร่างกายเปิดโล่งไม่ติดขัด เวลาฝึกพลังกงชุดนี้ มือให้เคลื่อนไปตามกลไก กระบวนท่าการเคลื่อนไหวต้องเบา ช้า และ กลมกลืน

 

 

เสวียน ฝ่า      จื้อ      ซวี

ซิน     ชิง      ซื่อ     อวี่

ฝัน     เปิ่น    กุย      เจิน

โยว     โยว     ซื่อ     ฉี่


 

 

 

 

 

 

“สองมือเจี๋ยอิ้ง” (ภาพ 4-1)

 

ท่าเตรียม     แยกเท้าระยะกว้างเท่าไหล่ ยืนให้เป็นธรรมชาติ สองขาหย่อนเล็กน้อย เข่าและสะโพกอยู่ในท่าลื่นไถล ผ่อนคลายทั่วร่างแต่ไม่หย่อนยาน ดึงคางลงเล็กน้อย ลิ้นแตะเพดานปาก เผยอฟันออกจากกันเล็กน้อย หุบริมฝีปากและหลับตาลงเบาๆ นึกถึงความสงบ สีหน้าแจ่มใส


 

 

 

 

 

 

 

“สองมือเหอสือ” (ภาพ 4-2)

 

          สองมือค่อยๆ แยกจากท่าเหอสือ แล้วเคลื่อนลงไปบริเวณหน้าท้องน้อย สองฝ่ามือหันเข้าหาลำตัว ห่างไม่เกิน 10 .. มือเคลื่อนผ่านบริเวณหน้าท้องน้อย ลงไปตามแนวด้านในของขาทั้งสองข้าง พร้อมกับย่อตัวลงไป (ภาพ 4-3)

 

 

 

 

               

 

 

 

 

เมื่อสองมือใกล้ถึงพื้น ให้วนผ่านด้านนอกของนิ้วเท้าไปจนถึงด้านหลังของส้นเท้า (ภาพ 4-4) แล้วงอข้อมือเล็กน้อย เคลื่อนสองมือขึ้นมาตามแนวด้านหลังของขาทั้งสอง (ภาพ 4-5) สองมือขณะเคลื่อนขึ้นมาถึงหลัง ให้ยืดเอวขึ้น (ภาพ 4-6) การฝึกฝ่าหลุนโจวเทียนฝ่า สองมือต้องไม่แตะถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย มิฉะนั้นแล้วพลังงานบนมือทั้งสองจะถูกดูดซับเข้าสู่ร่างกาย

 

 

         

 

 

 

เมื่อสองมือไม่สามารถจะเลื่อนขึ้นได้อีกแล้ว กำมือหลวมๆ เป็นโพรง (สองมือไม่รวบพลังงาน) (ภาพ 4-7) ดึงมือทั้งสองลอดใต้รักแร้มาด้านหน้า แล้วไขว้สองแขน ณ บริเวณหน้าอก (แขนไหนจะอยู่บน แขนไหนจะอยู่ล่างไม่กำหนดเป็นพิเศษ ตามแต่ความถนัด ไม่คำนึงถึงเพศ) (ภาพ 4-8) แบสองฝ่ามือออกบนไหล่ (ให้มีช่องว่างเล็กน้อย) จากนั้นก็เคลื่อนสองฝ่ามือไปตามลำแขน ด้านนอก(ด้านหยาง)ไปทางหลังมือ เคลื่อนมาจนเมื่อมืออยู่ในท่าไขว้กัน เปลี่ยนให้ฝ่ามือทั้งสองหันตรงกัน

 

 

 

              

 

 

 

 

ฝ่ามือทั้งสองห่างกัน 3 - 4 .. ถึงตอนนี้มือ และแขนจะเป็นแนวเส้นตรง (ภาพ 4-9) จากนั้นให้หมุนฝ่ามือเหมือนถือลูกบอลไว้ในมือ โดยมือที่อยู่ด้านในเปลี่ยนไปอยู่ด้านนอก มือที่อยู่ด้านนอกเปลี่ยนมาอยู่ด้านใน แล้วเคลื่อนสองมือไปตามด้านใน(ด้านอิน)ของปลายแขนและต้นแขน ขณะเดียวกันให้ยกสองมือข้ามศีรษะไปด้านหลัง (ภาพ 4-10) เคลื่อนไปจนถึงท้ายทอย สองมืออยู่ในท่าไขว้กัน (ภาพ 4-11)


 

 

 

                 

 

 

 

ถึงตรงนี้แยกสองมือออกจากกัน นิ้วมือชี้ลงด้านล่าง เพื่อเชื่อมต่อกับพลังงานตรงส่วนหลัง ค่อยเคลื่อนสองมือข้ามศีรษะมาที่หน้าอก (ภาพ 4-12) นี่คือการวนจักรวาลหนึ่งรอบ ทำทั้งหมด 9 ครั้ง เมื่อครบ 9 ครั้งแล้ว เคลื่อนสองมือจากหน้าอกลงไปบริเวณท้องน้อย ทำท่า

 

“เตี๋ยโค่วเสียวฝู่” (ภาพ 1-15)

 

“สองมือเจี๋ยอิ้ง” เก็บท่า (ภาพ 4-13)


ชุดที่ 5.         เสิน ทง เจีย ฉือ ฝ่า

หลักการ ชุดเสินทงเจียฉือฝ่า (เพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์) เป็นวิธีบำเพ็ญปฏิบัติสมาธิ โดยใช้กระบวนท่ารำมือของพระพุทธหมุนฝ่าหลุน เพื่อเพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์ (รวมทั้งความสามารถต่างๆ) และแรงพลัง(กงลี่) ในเวลาเดียวกัน เสินทงเจียฉือฝ่าเป็นพลังกงจัดอยู่ในระดับกลางขึ้นไป แต่เดิมเป็นวิธีฝึกกันเป็นความลับ เสินทงเจียฉือฝ่ากำหนดให้นั่งฝึกในท่านั่งขัดสมาธิสองขา(สมาธิเพชร) ในระยะแรกหากขัดสมาธิสองขาไม่ได้ อนุโลมให้นั่งขัดสมาธิขาเดียว แต่สุดท้ายยังต้องขัดสมาธิสองขาให้ได้ ขณะบำเพ็ญปฏิบัติกระแสพลังงานค่อนข้างแรงกล้า สนามพลังงานที่ห้อมล้อมร่างกายค่อนข้างใหญ่ ระยะเวลานั่งสมาธิยิ่งนานยิ่งดี ขึ้นอยู่กับกำลังพลังกงของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ เวลายิ่งนานพลังงานยิ่งแรงกล้า พลังกงออกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เวลาฝึกพลังกงต้องไม่คิดสิ่งใดไม่มีความนึกคิดใดๆ สมาธินำไปสู่ติ้ง(นิ่ง) แต่จิตสำนึกหลักต้องรู้ว่าตัวเองกำลังฝึกพลังกงอยู่

 

โหย่ว  อี้        อู๋        อี้

อิ้ง      สุย      จี        ฉี่

ซื่อ     คง      เฟย    คง

ต้ง      จิ้ง      หยู     อี้

 

ท่าเตรียม     นั่งขัดสมาธิ เอวตรง ลำคอตั้งตรง ดึงคางลงเล็กน้อย ลิ้นแตะเพดานปาก เผยอฟันออกจากกันเล็กน้อย หุบริมฝีปาก ผ่อน คลายร่างกาย แต่ไม่หย่อนยาน หลับตาลงเบาๆ ใจแผ่เมตตา สีหน้า

 

   

 

 

 

 

 

 

สงบแจ่มใส สองมือเจี๋ยอิ้ง ณ ท้องน้อย ค่อยๆเข้าสู่สมาธิ (ภาพ 5-1)

 

การรำมือ     จากท่าสองมือเจี๋ยอิ้ง ค่อยๆยกสองมือขึ้น เมื่อมือขึ้นถึงหน้าผาก คลายมือจากเจี๋ยอิ้ง ค่อยๆกลับฝ่ามือทั้งสองหันขึ้นสู่ด้านบน ขณะที่สองฝ่ามือหันขึ้นด้านบน มือก็ขึ้นถึงด้านบนของศีรษะ (ภาพ 5-2) (การรำมือให้แขนท่อนล่างนำแขนท่อนบน ด้วยกำลังขับเคลื่อนในระดับหนึ่ง) จากนั้นแยกมือออกพร้อมกับหมุนมือไปทางด้านหลังโดยวาดเส้นโค้งด้านบนของศีรษะพร้อมกับลดระดับมือลงมา จนลงมาถึงด้านข้างของศีรษะ (ภาพ 5-3) ข้อศอกสองข้างให้ชิดเข้าหา กันให้มากที่สุด ฝ่ามือหงายขึ้น ปลายนิ้วชี้ไปข้างหน้า (ภาพ 5-4)

 

 

        

 

  

 

 

เหยียดข้อมือมาไขว้กันที่หน้าอก ชายมือซ้ายอยู่ด้านนอก หญิงมือขวาอยู่ด้านนอก

 

 

 

            

 

 

 

สองมือเมื่อตัดกันแล้ว ยืดสองแขนเป็นเส้นตรง (ภาพ 5-5) ปลายมือที่อยู่ด้านนอกหมุนข้อมือออกด้านข้าง หมุนฝ่ามือขึ้นข้างบน วาดครึ่งวงกลมใหญ่ หงายฝ่ามือขึ้น ปลายนิ้วชี้ไปทางด้านหลัง มือต้องมีกำลังในระดับหนึ่ง มือที่อยู่ด้านใน หลังจากตัดกันแล้ว ค่อยๆหมุนฝ่ามือลงข้างล่างจนมือเหียดตรง หมุนฝ่ามือออกข้างนอก มือเฉียงตรงไปข้างล่างของร่างกายทำมุม 30 องศากับร่างกาย (ภาพ 5-6) จากนั้นเคลื่อนมือซ้าย (มือที่อยู่ข้างบน) เข้าด้านใน มือขวาเคลื่อนขึ้นข้างบนพร้อมกัน หมุนฝ่ามือเข้าใน แล้วรำในลักษณะเดิมอีกครั้ง แต่เปลี่ยนมือจากมือซ้ายมาเป็นมือขวา ตำแหน่งมือกลับกัน (ภาพ 5-7)


 

 

 

             

 

 

 

 

 

จากนั้น ชายมือขวา (หญิงมือซ้าย) ข้อมือเหยียดตรง หันฝ่ามือเข้าหาลำตัว หลังจากตัดกันที่หน้าอกแล้ว หมุนฝ่ามือลงข้างล่าง เหยียดเฉียงลงไปข้างหน้าตรงส่วนน่อง ลำแขนยืดตรง ชายมือซ้าย (หญิงมือขวา) ค่อยๆหมุนฝ่ามือเข้าใน เมื่อเคลื่อนมือขึ้นมาตัดกันแล้วหงายฝ่ามือ เคลื่อนขึ้นไปทางไหล่ซ้าย (หญิงขวา) เมื่อมือถึงตำแหน่งฝ่ามือหงายขึ้นบน ปลายนิ้วชี้ไปทางด้านหน้า (ภาพ 5-8)

 

 

 

 

            

 

 

 

 

 

จากนั้นรำในลักษณะเดิมอีกครั้ง แต่เปลี่ยนมือ คือชายมือซ้าย (หญิงมือขวา) เคลื่อนอยู่ด้านใน ชายมือขวา (หญิงมือซ้าย) เคลื่อนอยู่ด้านนอก ตำแหน่งมือกลับกัน (ภาพ 5-9) การรำมือต้องรำต่อเนื่อง ไม่หยุดกลางคัน

 

การเพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์ จากท่ารำมือ เคลื่อนมือบนเข้าด้านใน มือล่าง

 

 

 

 

อยู่ด้านนอก ชายค่อยๆเคลื่อนมือขวาโดยหมุนฝ่ามือเข้าหาบริเวณหน้าอกส่วนล่าง และชายเคลื่อนมือซ้าย(หญิงมือขวา)ตามขึ้นมา สองแขนมาบรรจบเป็นเส้นตรง ณ บริเวณหน้าอกแล้ว (ภาพ 5-10) สองมือค่อยๆดึงออกด้านข้างพร้อมกับหันฝ่ามือลงข้างล่าง (ภาพ 5-11) เมื่อสองมือเคลื่อนออกไปถึงด้านนอกของเข่า ตั้งสองแขนขนานกับพื้นในระดับความสูงของเอว ปลายแขนและหลังมือขนานกับพื้น ผ่อนคลายสองแขน (ภาพ 5-12) ท่านี้เป็นการส่งอิทธิฤทธิ์ในร่างกายไปเพิ่มพูนที่มือ การเพิ่มพูนพละกำลังจะรู้สึกฝ่ามือร้อน หนัก ชาแบบไฟฟ้าสถิต รู้สึกเหมือนมีสิ่งของอยู่เป็นต้น แต่ต้องไม่ตั้งใจค้นหา ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ท่านี้ทำยิ่งนานยิ่งดี

 

 

 

            

 

 

ชายขวา (หญิงซ้าย) งอข้อมือพร้อมกับหมุนฝ่ามือเข้าในและเคลื่อนมา ณ บริเวณท้องน้อย เมื่อถึงตำแหน่งแล้ว ฝ่ามือหันขึ้นข้างบน ณ บริเวณท้องน้อย ขณะเดียวกันชายซ้าย (หญิงขวา) ค่อยๆเคลื่อนฝ่ามือยกขึ้นมาที่ใต้คาง ยกขึ้นมาเสมอกับไหล่ แล้วฝ่ามือหันลงข้างล่าง มือถึงตำแหน่งแล้ว แขนกับมือเสมอกัน ณ ตรงนี้ฝ่ามือทั้งสองตรงกัน ท่าติ้ง(นิ่ง) (ภาพ 5-13) ท่าเพิ่มพูนพละกำลังกำหนดให้ฝึกเป็นเวลานาน แต่ให้ทำนานเท่าที่จะทำได้ จากนั้นมือที่อยู่ข้างบนเคลื่อนไป ข้างหน้าในลักษณะครึ่งวงกลมลงไปยังท้องน้อย พร้อมกับเคลื่อนมือที่อยู่ ข้างล่างขึ้นมาที่ใต้คาง โดยคว่ำฝ่ามือลง แขนและไหล่เสมอกัน ฝ่ามือทั้งสองตรงกัน ท่าติ้ง(นิ่ง) (ภาพ 5-14) กำหนดเวลาฝึกยิ่งนานยิ่งดี


 

 

 

 

 

 

การบำเพ็ญปฏิบัติสมาธิ      จากท่าก่อนเคลื่อนมือที่อยู่ข้างบน ในลักษณะครึ่งวงกลมลงไปยังท้องน้อย สองมือเจี๋ยอิ้ง (ภาพ 5-15) เข้าสู่การ บำเพ็ญปฏิบัติสมาธิ เข้าสู่ติ้ง(นิ่ง)ในระดับลึก แต่จิตสำนึกหลักต้องรู้ว่าตัวเองกำลังฝึกพลังกงอยู่ กำหนดเวลายิ่งนานยิ่งดี

 

เก็บท่า: สองมือเหอสือ ออกจากติ้ง(นิ่ง) คลายการขัดสมาธิ

 


 

 

 

 

3

 

 หลักกลไกของการเคลื่อนไหว

 


1. พลังกงชุดที่ 1

          พลังกงชุดที่ 1 เรียกว่า ฝอจ่านเชียนโสวฝ่า (พระพุทธพันมือ) พิจารณาตามความหมายของชื่อ เหมือนดั่งพระพุทธพันมือ พระโพธิสัตว์พันมือทำท่าเหยียดมือ แน่นอนพวกเราไม่สามารถเหยียดมือเป็นพันครั้ง ท่านก็ไม่อาจจดจำได้ ยังจะทำให้ท่านเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก พลังกงชุดนี้พวกเราใช้กระบวนท่าการเคลื่อนไหวพื้นฐานง่ายๆ 8 ท่ามาแทน นี่คือความหมาย อย่างไรก็ตาม ผลของการเคลื่อนไหวทำให้ชีพจรในร่างกายของเราเปิดออกทั้งหมด ข้าพเจ้าขอบอกทุกท่าน ทำไมจึงพูดว่าในหลักพลังกงของเรา พวกเรายืนฝึกอยู่ ณ ระดับชั้นที่สูงมากตั้งแต่เริ่มต้น เพราะว่าเราไม่เพียงแต่เดินชีพจรหนึ่งเส้น สองเส้น ชีพจรเยิ่นและชีพจรตู๋ หรือชีพจรฉีจิงทั้งแปดเท่านั้น ชีพจรของเราจะเปิดออกทั้งหมดทันทีเมื่อเริ่มฝึก ชีพจรทั้งหมดหมุนเวียนพร้อมกัน เช่นนี้พวกเราจึงยืนฝึกอยู่ในระดับชั้นที่สูงมากตั้งแต่เริ่มต้น

          การเคลื่อนไหวชุดนี้ กำหนดให้มีจังหวะ “ยืด”และ“ผ่อน” มือและเท้าต้องสัมพันธ์กันให้ดี ด้วยการยืดและผ่อนคลายแต่ละครั้ง สามารถช่วยทางเดินชีพจรในร่างกายที่ติดขัด ให้เปิดทะลวงออกทุกส่วน แน่นอนการฝึกการเคลื่อนไหวชุดนี้ หากข้าพเจ้าไม่ใส่กลไก(จี)ชุดนี้ให้แก่ท่าน ก็จะไม่บังเกิดผล เวลายืดให้ค่อยๆยืดออกไป ยืดทุกส่วนของร่างกายออกไปจนสุด เหมือนกับแยกตัวท่านออกเป็น 2 คน ยืดร่างกายออกจนใหญ่โต ไม่มีความนึกคิดใดๆ เวลาผ่อนให้ผ่อนอย่างฉับพลันทันที ยืดจนสุดแล้วผ่อนทันที เหมือนกดถุงลมให้แฟบ ขับชี่ออกไป พอยกมือขึ้นไปก็ดูดซับชี่เข้ามา กรอกเติมเข้ามา ดูดซับพลังงานใหม่เข้ามา ประสิทธิผลของกลไกบังคับ(จีจื้อ)นี้ ยังสามารถ เปิดทะลวงจุดที่ติดขัดอุดตัน

          เวลายืด ส้นเท้าออกแรงเหยียบลงไป ศีรษะออกแรงยืดขึ้นไปข้างบน เสมือนหนึ่งดึงชีพจรทั่วร่างกายของท่านให้เปิดออกทั้งหมด จากนั้นผ่อนอย่างฉับพลันทันที หลังจากยืดจนสุดแล้วให้ผ่อนทันที ด้วยวิธีเช่นนี้ ร่างกายทุกส่วนจะเปิดออกทันที แน่นอนเรายังต้องใส่กลไก(จี) กลไกบังคับ(จีจื้อ)แต่ละชนิดให้แก่ท่าน เวลายืดแขนให้ออกแรง ค่อยๆออกแรงยืดออกไปจนสุด สายเต๋าพูดถึงการเดินของชีพจรสามอิน สามหยาง ความจริงไม่ใช่เพียงการเดินของชีพจรสามอิน สามหยางเท่านั้น แขนก็มีชีพจรนับร้อยเส้น ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน ล้วนต้องเปิดทะลวงออก ล้วนต้องยืดออก ของเราเป็นการทะลวงชีพจรทั้งหมดให้เปิดออกตั้งแต่เริ่มต้น หลักบำเพ็ญปฏิบัติพลังกงทั่วไป ไม่นับการฝึกชี่ การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมที่แท้จริงต้องเริ่มจากชีพจรหนึ่งเส้นนำชีพจรร้อยเส้นให้เปิดออก การนำชีพจรทั้งหมดให้เปิดออกนั้นต้องกินเวลายาวนานเป็นปีๆ ของเราพอเริ่มต้นชีพจรทั้งหมดก็จะเปิดออกทันที ดังนั้นพวกเราจึงฝึกอยู่ ณ ระดับชั้นที่สูงมากทีเดียว ทุกท่านต้องจับประเด็นหลักไว้ให้ดี

          ข้าพเจ้าขอพูดท่ายืนปักหลักสักเล็กน้อย ระยะห่างของสองเท้าให้กว้างเท่ากับไหล่ ยืนให้เป็นธรรมชาติ ไม่กำหนดให้สองเท้าขนานกัน เพราะพวกเราในที่นี้ไม่ฝึกวิชาบู๊ หลักพลังกงอื่นๆ โดยมากมักเริ่มฝึกจากการตั้งท่าม้าก้าว(หม่าปู้)ในวิชาบู๊ สายพุทธเน้นเรื่องการโปรดสรรพชีวิต ไม่สามารถรับเข้าเพียงอย่างเดียว เข่าและสะโพกอยู่ในท่าลื่นไถล ขาหย่อนเล็กน้อย การหย่อนเล็กน้อย ชีพจรก็จะเปิดทะลวง เวลาท่านยืนตรงชีพจรจะแข็งทื่อ ไม่เปิดทะลวง ลำตัวตั้งตรง ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน ทั้งข้างในและข้างนอก ผ่อนคลายแต่ไม่หย่อนยาน ศีรษะตั้งตรง

          เวลาฝึกพลังกงทั้งห้าชุด ต้องหลับตา แต่เวลาพวกเราเรียนฝึก ท่านต้องดู ยังต้องลืมตาเพื่อดูว่าการเคลื่อนไหวกระบวนท่าทำได้ตาม มาตรฐานหรือไม่ หลังจากฝึกจนคล่องแล้ว กลับไปฝึกเองให้หลับตา ลิ้นแตะเพดานปาก เผยอฟันออกจากกันเล็กน้อย หุบริมฝีปาก ทำไมลิ้นต้องแตะเพดานปาก ทุกท่านทราบ การฝึกพลังกงอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงวงจรสวรรค์(โจวเทียน)ผิวเผินชั้นนอกเท่านั้นที่เดินอยู่ ภายในร่างกายชีพจรทั้งแนวตั้งและแนวนอนล้วนเดินอยู่ ไม่เพียงแต่ชั้นนอกเท่านั้น อวัยวะภายในล้วนมีชีพจร ช่องว่างระหว่างอวัยวะภายในล้วนมีชีพจร ช่องปากนั้นกลวง ดังนั้นเราจึงอาศัยลิ้นแตะเพดานปาก เป็นสะพานเชื่อมเพื่อเสริมกระแสพลังงานของชีพจรในขณะหมุนเวียน ให้พลังงานไหลผ่านลิ้นข้ามมา ริมฝีปากที่หุบก็คือสะพานเชื่อมที่อยู่ภายนอก ให้พลังงาน ณ ชั้นผิวไหลเวียน ทำไมต้องเผยอฟัน เพราะเวลาฝึกพลังกง หากขบฟันเอาไว้ขณะพลังงานไหลเวียน จะทำให้ฟันของท่านขบแน่นยิ่งขึ้น ยิ่งขบยิ่งแน่น หากจุดไหนของร่างกายไม่ผ่อนคลาย จุดนั้นก็ไม่สามารถฝึกได้เต็มที่ ดังนั้นจุดใดขมวดไว้ยิ่งแน่น จุดนั้นก็ไม่ได้ฝึก ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ผันแปร การเผยอฟันเล็กน้อยก็จะช่วยผ่อนคลาย ข้อกำหนดพื้นฐานของการเคลื่อนไหวกระบวนท่าเป็นเช่นนี้ ยังมีท่าเชื่อมต่ออีกสามท่าในพลังกงของเราที่เราต้องอธิบาย

          สองมือเหอสือ(พนมมือ) เวลาเหอสือแขนต้องให้ราบ ต้นแขนตั้งขึ้นมา ระหว่างรักแร้และสีข้างเปิดออก ถ้าจุดนี้ปิด ช่องทางเดินของพลังงานจะเกิดการอุดตัน ปลายนิ้วต้องไม่ยกสูงถึงใบหน้า ให้อยู่ตรงหน้าอก และไม่แตะถูกลำตัว กลางฝ่ามือกลวง ฐานฝ่ามือพยายามให้ประกบกัน ทุกท่านต้องจดจำท่านี้ไว้ เป็นท่าที่เราจะต้องทำซ้ำกันหลายครั้ง

          เตี๋ยโค่วเสียวฝู่(ซ้อนมือหน้าท้องน้อย) ต้นแขนตั้งขึ้น เวลาฝึกพลังกงจะต้องตั้งขึ้น เรามีหลักการที่เน้นท่านี้ หากจุดระหว่างรักแร้และสีข้างไม่เปิด พลังงานของท่านก็จะอุดตัน ผ่านข้ามไปไม่ได้ เวลาทำ ชายมือซ้ายอยู่ด้านใน หญิงมือขวาอยู่ด้านใน ระหว่างมือให้มีช่องว่างเท่าความหนาของฝ่ามือ ต้องไม่แตะถูกกัน ระหว่างฝ่ามือทั้งสองและร่างกายมีช่องว่าง และต้องไม่แตะถูกลำตัว เพราะเหตุใด ทุกท่านทราบ มีช่องทางเดินอยู่ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย วิชาของเราอาศัยฝ่าหลุนในการเปิดทะลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเหลากงเซี้ยที่มือ อันที่จริงจุดเหลากงเซี้ยเป็นสนามซึ่งคงอยู่ในรูปแบบของร่างกายในแต่ละมิติ ไม่เพียงแต่เฉพาะจุดเหลากงเซี้ยนี้ของกายเนื้อของเราเท่านั้น สนามของมันใหญ่มาก ใหญ่กว่าฝ่ามือของกายเนื้อของท่านเสียอีก ล้วนต้องให้เปิดออก เราจึงอาศัยฝ่าหลุนมาเปิดทะลวง บนมือของเรานี้มีฝ่าหลุนหมุนอยู่ มีทั้งสองข้าง จึงไม่ให้แตะถูกซึ่งกันและกัน เวลาจบการฝึกพลังกง ขณะเตี๋ยโค่วเสียวฝู่ มือจะมีพลังงานมากมาย จุดประสงค์อีกข้อหนึ่งของเตี๋ยโค่วเสียวฝู่ คือการเสริมกำลังฝ่าหลุน ณ ท้องน้อยและบริเวณตานเถียนของท่าน บริเวณตานเถียนเป็นบริเวณที่จะกำเนิดสิ่งต่างๆมากมายกว่าหมื่นชนิด

          อีกท่าหนึ่งเรียกว่าเจี๋ยติ้งอิ้ง เราเรียกสั้นๆว่าเจี๋ยอิ้ง ทุกท่านจะเห็นว่า เจี๋ยอิ้งไม่ใช่ประสานมืออย่างธรรมดา นิ้วหัวแม่มือจะขึ้นมา เป็นรูปทรงกลมรี นิ้วมือโดยหลักจะซ้อนอยู่ด้วยกันเบาๆ นิ้วมือที่อยู่ข้างล่างต้องตรงกับร่องนิ้วมือที่อยู่ข้างบน เป็นเช่นนี้เวลาเจี๋ยอิ้ง ชายมือซ้ายอยู่บน หญิงมือขวาอยู่บน เพราะเหตุใด เพราะชายเป็นร่าง หยางบริสุทธิ์ หญิงเป็นร่างอินบริสุทธิ์ ชายจะต้องสะกดหยางและส่งเสริมอินของท่าน หญิงต้องสะกดอินส่งเสริมหยางของท่าน ให้บรรลุ อิน-หยาง สมดุล ดังนั้นท่าของชายหญิงจึงไม่เหมือนกัน เวลาเจี๋ยอิ้ง ให้ตั้งต้นแขนขึ้นมา จะต้องตั้งขึ้นมา ทุกท่านทราบ ตานเถียนของเราต่ำจากสะดือลงไปสองนิ้ว คือจุดศูนย์กลางของตานเถียน ก็คือจุดศูนย์กลางของฝ่าหลุน ดังนั้นเวลาเจี๋ยอิ้งต้องต่ำลงไปอีกหน่อย ประคองตำแหน่งของฝ่าหลุน บางคนเวลาผ่อน ผ่อนแต่เฉพาะมือ ไม่ผ่อนขา ขาก็ต้องให้สัมพันธ์กัน ให้ผ่อนพร้อมกัน ยืดพร้อมกัน

 


2. พลังกงชุดที่ 2

          พลังกงชุดที่ 2 เรียกว่า ฝ่าหลุนจวงฝ่า(ฝ่าหลุนยืนปักหลัก) กระบวนท่าการเคลื่อนไหวค่อนข้างเรียบง่าย มีเพียงท่าอุ้มหลุน 4 ท่า เท่านั้น เรียนรู้ได้ง่ายแต่ความยากอยู่ที่การฝึกฝน มีข้อกำหนดที่สูง สูงอย่างไร เพราะการฝึกพลังกงท่ายืนปักหลักใดๆ ล้วนกำหนดให้ยืนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ยกมือไว้เป็นเวลานานจนรู้สึกเมื่อยสองแขน จึงมีข้อกำหนดค่อนข้างสูง ท่ายืนปักหลักเหมือนกับพลังกงชุดที่ 1 แต่ไม่มีการยืด เพียงแต่ยืนอย่างผ่อนคลาย กระบวนท่าพื้นฐานทั้งสี่ของการเคลื่อนไหวล้วนอยู่ในท่าอุ้มหลุน ท่านอย่าได้เห็นว่า กระบวนท่าเรียบง่าย มีกระบวนท่าพื้นฐานเพียง 4 ท่าเท่านั้น เพราะเป็นการบำเพ็ญปฏิบัติต้าฝ่า การเคลื่อนไหวแต่ละกระบวนท่า มิได้ฝึกเพียงเพื่อให้เกิดพลังกงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือฝึกเพื่อก่อเกิดอะไรออกมาเล็กๆน้อยๆ การเคลื่อนไหวแต่ละกระบวนท่าจะผันแปรอะไรออกมามากมาย หากต้องใช้หนึ่งกระบวนท่าเพื่อผันแปรอะไรแต่ละอย่าง เช่นนั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าขอบอกท่าน สิ่งที่ข้าพเจ้าใส่ให้แก่ท่าน ณ บริเวณท้องน้อย ในวิชาของเราจะกำเนิดสิ่งต่างๆออกมานับพันนับหมื่นชนิด หากแต่ละชนิดต้องใช้หนึ่งกระบวนท่ามาฝึกแล้ว ท่านลองคิดดูกระบวนท่านับพัน นับหมื่นท่า ต่อให้ท่านฝึกตลอดทั้งวันก็ฝึกไม่หมด ฝึกจนท่านเมื่อยล้า ก็ไม่แน่ว่าจะจำได้

          มีคำพูดประโยคหนึ่งว่า ต้าเต้าเน้นความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ระบบ ณ มหภาคจะควบคุมการผันแปรของสิ่งต่างๆ ดังนั้นเวลาฝึกบำเพ็ญพลังกงสมาธิ ไม่เคลื่อนไหวการผันแปรกลับจะดีกว่า เวลาที่กระบวนท่าเรียบง่าย ก็คือการควบคุม ณ มหภาค การผันแปรของสิ่งต่างๆจะดำเนินพร้อมกันไป กระบวนท่ายิ่งเรียบง่าย ท่านจะผันแปรได้ยิ่งเต็มที่ เพราะมันควบคุมการผันแปรทั้งหมด ณ มหภาค พลังกงชุดนี้ของเรา มีท่าอุ้มหลุน 4 กระบวนท่า เวลาท่านอุ้มหลุน จะรู้สึกว่าระหว่างสองแขนมีฝ่าหลุนใหญ่หมุนอยู่ภายใน ผู้ฝึกพลังกงแทบทุกคนจะรู้สึกได้ เวลาฝึกฝ่าหลุนจวงฝ่า ไม่ให้ทำเหมือนคนถูกอะไรเข้าสิง เหมือนหลักพลังกงอื่นที่โงนเงนไปมา กระโดดโลดเต้น ทำเช่นนี้ไม่ได้ แบบนี้ไม่ใช่การฝึกพลังกง ท่านเคยเห็นพระพุทธ เต๋า เทพ องค์ใดที่กระโดดโลดเต้น โงนเงนไปมาบ้างหรือไม่ ไม่มี

 


3. พลังกงชุดที่ 3

พลังกงชุดที่ 3 เรียกว่า ก้วนทงเหลี่ยงจี๋ฝ่า(ทะลวงสุดสองขั้ว จักรวาล) พลังกงชุดนี้ค่อนข้างเรียบง่าย ก้วนทงเหลี่ยงจี๋ฝ่า พิจารณา ตามความหมายของชื่อก็คือ การส่งพลังงานออกไปสุดสองขั้ว สุดสอง ขั้วของจักรวาลอันไร้ขอบนี้กว้างใหญ่ขนาดไหน สุดที่ท่านจะคิดคำนึง ดังนั้นจึงไม่มีการเคลื่อนไหวทางความนึกคิด พวกเราฝึกพลังกงให้เคลื่อนไหวไปตาม“จี”(กลไก) มือของท่านให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกที่ข้าพเจ้าใส่ไว้ให้ พลังกงชุดที่ 1 ก็มีกลไกชนิดนี้อยู่ ที่ไม่ได้อธิบายให้ท่านทราบในวันแรก เพราะท่านยังไม่คุ้นเคยกับการฝึกพลังกง จึงไม่ให้ท่านไปค้นหา เกรงว่าท่านจะจำไม่ได้ อันที่จริงท่านจะพบว่า เวลาที่ท่านยืดและผ่อนสองแขน มือของท่านจะกลับคืนมาเอง โบยบินกลับคืนมาอย่างอัตโนมัติ นี่ก็คือการทำงานของ“จี”ที่ข้าพเจ้าใส่ให้แก่ท่าน สายเต๋าเรียกว่าพลังของมือโบยบิน เมื่อท่านเคลื่อนไหว จบหนึ่งกระบวนท่า ท่านจะพบว่ามือของท่านจะโบยบินออกไป เพื่อทำกระบวนท่าที่สองต่อไป อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามระยะเวลาการฝึกพลังกงที่ยาวขึ้น ท่านจะสัมผัสความรู้สึกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้หลังจากที่ข้าพเจ้าใส่ให้กับทุกท่านแล้ว ก็จะหมุนเองโดยอัตโนมัติ อันที่จริงกลไกชนิดนี้ในยามที่ตัวท่านไม่ได้ฝึกพลังกง พลังกงภายใต้การทำงานของ“จีจื้อ”(กลไกบังคับ)ของฝ่าหลุน ก็จะทำการฝึกคน พลังกงชุดต่อๆไปก็จะมีสิ่งนี้อยู่ด้วย ท่าฝึกของก้วนทงเหลี่ยงจี๋ฝ่า และฝ่าหลุนจวงฝ่าจะเหมือนกัน ไม่มีการยืด ยืนอย่างผ่อนคลาย มีกระบวนท่ามือ 2 ท่า ท่าที่หนึ่งคือตานโส่วชง-ก้วน(มือเดียวประคองขึ้นและกรอกลง) ก็คือมือหนึ่งชง(ประคอง)ขึ้นบน อีกมือหนึ่งก้วน(กรอก)ลง จากนั้นมือที่ชงขึ้นก็ก้วนลงมา และมือที่ก้วนลงมาก็ชงขึ้นไป กลับกันไปมา ขึ้นหนึ่งทีลงหนึ่งที นับเป็น 1 ครั้ง ทั้งหมดทำ 9 ครั้ง เมื่อถึงครั้งที่ 8 ครึ่ง อีกมือหนึ่งตามขึ้นไป จากนั้นก็ซวงโส่วชง-ก้วน(สองมือประคองขึ้นและกรอกลง) ทำ 9 ครั้ง ต่อไปหากใครอยากเพิ่มจำนวนครั้งของการฝึกพลังกงก็ต้องทำ 18 ครั้ง ต้องยึดตัวเลข 9 เป็นหลัก เพราะดำเนินไปครบ 9 ครั้ง กลไกก็จะเปลี่ยน กำหนดไว้ ณ ตัวเลข 9 ต่อไปเวลาฝึกไม่ให้คอยตรวจนับ เมื่อกลไกแรงกล้าเวลาครบ 9 ครั้ง กลไกก็จะเก็บท่าด้วยตัวเอง เมื่อกลไกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ ทันทีมือของท่านก็จะประสานเข้าหากัน ท่านไม่ต้องนับ รับรองว่าเมื่อท่านชง-ก้วนครบ 9 ครั้ง ท่านก็จะทำการหมุนฝ่าหลุน ต่อไปอย่าได้คอยนับ เพราะการฝึกพลังกง ต้องอู๋เหวย(ไร้การกระทำ)ใดๆ มีการกระทำก็คือยึดติด เมื่อถึงระดับชั้นสูง การบำเพ็ญปฏิบัติธรรม ไม่มีการเคลื่อนไหวทางความคิด ทั้งหมดคืออู๋เหวย แน่นอนมีบางคนพูดว่า การเคลื่อนไหวโดยตัวของมันเองก็คือโหย่วเหวย(การกระทำ) นี่เป็นความเข้าใจที่ผิด หากพูดว่าการเคลื่อนไหวก็คือการกระทำ เช่นนั้นพระพุทธยังต้องรำมือ นิกายฉันจง(เซน) พระสงฆ์ในวัดยังต้องมีการประสานมือ ยังต้องเข้าฌาน โหย่วเหวยอยู่ที่การมีกระบวนท่ามือมากหรือน้อยเช่นนั้นหรือ การมีกระบวนท่ามือมากหรือน้อย เป็นตัวกำหนดโหย่วเหวยและอู๋เหวยเช่นนั้นหรือ มีกระบวนท่ามากก็คือยึดติด กระบวนท่าน้อยก็คือไม่ยึดติดเช่นนั้นหรือ ไม่ได้อยู่ที่กระบวนท่าการเคลื่อนไหว แต่หมายถึงในความคิดของคนยังมีความยึดติดอยู่หรือไม่ ยังมีสิ่งใดที่ยังไม่สามารถปล่อยวางหรือไม่ อยู่ที่ใจดวงนี้ เวลาเราฝึกพลังกงให้ดำเนินไปตามกลไก ค่อยๆขจัดโหย่วเหวยในใจ ไม่เคลื่อนไหวทางความคิดใดๆ

          ขั้นตอนชง-ก้วน สามารถทำให้ร่างกายคนบรรลุถึงการผันแปรพิเศษแบบหนึ่ง ในเวลาเดียวกันขั้นตอนการชง-ก้วน ยังสามารถเปิดช่องทางเดินบนศีรษะในร่างกายคน เรียกว่าไคติ่ง(เปิดส่วนยอดของศีรษะ) และยังสามารถเปิดช่องทางเดินใต้ฝ่าเท้า ช่องทางเดินใต้ฝ่าเท้า ไม่ใช่เพียงจุดหย่งฉวนเซี้ยเท่านั้น มันเป็นสนาม เพราะร่างกายคนในมิติอื่นๆ มีรูปแบบคงอยู่ที่แตกต่างกัน ในระหว่างการฝึกพลังกง ร่างกายก็จะขยายออกอย่างต่อเนื่อง พลังกงนับวันก็จะมีปริมาณมากขึ้นมากขึ้น จนล้นออกมานอกร่างกายของคน

          ในระหว่างการฝึกพลังกง ศีรษะจะไคติ่ง ไคติ่งที่เราพูดถึง กับไคติ่งของนิกายมี่จงนั้นไม่เหมือนกัน ไคติ่งของนิกายมี่จงคือ การเปิดทะลวงจุดไป่ฮุ่ยเซี้ย และเสียบหญ้าศิริมงคลหนึ่งกิ่ง ไคติ่งแบบนี้เป็นวิธีบำเพ็ญปฏิบัติธรรมของนิกายมี่จง ของเราไม่ใช่ไคติ่งแบบนี้ ไคติ่งที่เราพูดถึงคือ การเชื่อมต่อระหว่างจักรวาลกับสมอง ทุกท่านทราบ การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมทางศาสนาพุทธ โดยทั่วไปเขาก็มีไคติ่ง แต่น้อยคนนักที่จะทราบ ในระหว่างการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม บางคนเมื่อศีรษะไคติ่งเป็นรอยแยกเพียงเล็กน้อย ก็รู้สึกว่าตัวเองฝึกได้ดี ความจริงนั่นยังห่างไกลอีกมากนัก ไคติ่งที่แท้จริงต้องให้บรรลุถึงระดับไหน ต้องให้กะโหลกศีรษะทุกส่วนเปิดออก จากนั้นมันจะเข้าสู่สภาวะการ เปิด-ปิด เปิด-ปิด เปิด-ปิด ตลอดไป จะคงอยู่ในสภาวะเชื่อมต่อกับจักรวาลเช่นนี้ตลอดไป นี่คือไคติ่งที่แท้จริง แน่นอนไม่ใช่กะโหลกศีรษะในมิตินี้ ถ้าเป็นกะโหลกศีรษะในมิตินี้คงจะน่ากลัวมาก เป็นกะโหลกศีรษะในมิติอื่น

          พลังกงชุดนี้ ฝึกได้ค่อนข้างง่าย กำหนดให้ท่ายืนปักหลักเหมือนพลังกงสองชุดแรก แต่ไม่มีการยืดเหมือนพลังกงชุดที่ 1 พลังกงชุดต่อๆไปก็ไม่มีการยืด ให้ยืนอย่างผ่อนคลาย คงท่ายืนไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เวลาชง-ก้วนให้ทุกท่านสังเกต มือให้เคลื่อนไปตามกลไก อันที่จริงพลังกงชุดที่ 1 มือก็เคลื่อนไปตามกลไก เมื่อท่านยืดเสร็จแล้วผ่อนคลาย หลังจากผ่อนคลาย มือนั้นจะโบยบินกลับมาสู่ท่าเหอสือเองโดยอัตโนมัติ พวกเราล้วนมีใส่“จี”(กลไก)แบบนี้ พวกเราฝึกกระบวนท่าโดยดำเนินไปตาม“จี” เพื่อเสริมกำลังของ“จี” ท่านไม่จำเป็นต้องฝึกพลังกงเอง ท่านเคลื่อนไหวกระบวนท่าเป็นการเสริมกำลังของ“จี” “จี”ยังสามารถเกิดผลเช่นนี้ ให้จับประเด็นหลักและทำให้ถูกต้อง ท่านก็จะสัมผัสถึงการคงอยู่ของ“จี” ระยะห่างระหว่างมือกับร่างกายต้องไม่เกิน 10 .. ในระยะไม่เกิน 10 .. จึงจะสัมผัสถึงรูปแบบการคงอยู่ของกลไก บางคนไม่ผ่อนคลายเท่าที่ควรก็จะสัมผัสไม่ได้ ทำช้าๆท่านจะสามารถสัมผัสได้ เวลาฝึกพลังกงไม่มีความรู้สึกและความนึกคิดประคองชี่ขึ้นไปและความคิดกรอกชี่ - อัดชี่เข้าข้างใน มือให้หันเข้าหาลำตัวตลอด แต่มีอยู่จุดหนึ่ง บางคนเวลาเคลื่อนมือผ่านลำตัว มือจะอยู่ใกล้ แต่พอขึ้นถึงใบหน้ากลัวแตะถูกใบหน้า ก็ผายมือออก มือต้องไม่ห่างจากใบหน้ามากเกินไป ให้เคลื่อนมือชิดใบหน้าลงมาและขึ้นไป ชิดลำตัวขึ้นไปและลงมา ไม่แตะถูกเสื้อผ้าเป็นใช้ได้ ให้ทำตามประเด็นหลักนี้ เมื่อมือขึ้นไปถึงข้างบน ถ้าท่านทำได้ถูกต้อง มือเดียวชง-ก้วนฝ่ามือต้องหันเข้าด้านในโดยตลอด

          เวลาทำตานโส่วชง-ก้วน (มือเดียวประคองขึ้นและกรอกลง) ต้องไม่พะวงแต่มือข้างบน เพราะชงและก้วนพร้อมกัน ดังนั้นมือข้างล่างก็ต้องไปให้ถึงตำแหน่งด้วย คือทั้งชงและก้วน ชงและก้วนไปถึง ตำแหน่งพร้อมกัน สองมือเมื่อผ่านบริเวณหน้าอก ต้องไม่เกยกัน ไม่เช่นนั้น “จี”(กลไก)ก็จะสับสน ต้องแยกกันเดิน มือแต่ละข้างควบคุม ร่างกายแต่ละด้าน เหยียดแขนให้ตรง เหยียดตรงไม่ได้หมายความว่า ไม่ผ่อนคลาย ให้ผ่อนคลายทั้งมือและลำตัว แต่ต้องเหยียดมือให้ตรง เพราะเป็นการเคลื่อนไปตาม“จี” จะรู้สึกถึงการมี“จี”แบบหนึ่ง มีแรงชนิดหนึ่งลากนิ้วมือของท่านโบยบินขึ้นไป เวลาซวงโส่วชง-ก้วน (สองมือประคองขึ้นและกรอกลง) สองมือให้แยกออกจากกันได้เล็กน้อย แต่ต้องไม่มากเกินไป เพราะพลังงานเดินสู่ข้างบน สังเกตซวงโส่วชง-ก้วนให้ดี บางคนเคยชินกับการประคองชี่ขึ้นและกรอกลงบนศีรษะจนเป็นนิสัย จะหันฝ่ามือลงข้างล่าง และหันฝ่ามือขึ้นข้างบนตลอดเวลา เช่นนี้ไม่ได้ ต้องหันฝ่ามือเข้าหาลำตัว ท่านอย่าเห็นว่าชุดนี้เรียกว่าชง-ก้วน ทุกอย่างดำเนินไปตาม“จี”ที่ข้าพเจ้าใส่ไว้ให้ เป็นการทำงานของกลไกบังคับ ไม่มีการเคลื่อนไหวทางความนึกคิดใดๆ พลังกงทั้ง 5 ชุด ล้วนไม่มีการเคลื่อนไหวความนึกคิดใดๆ พลังกงชุดที่ 3 มีคำพูดประโยคหนึ่งว่า ก่อนฝึกการเคลื่อนไหว ให้คิดว่าตัวเองเป็นกระบอกไผ่ลำหนึ่ง หรือกระบอกไผ่ 2 ลำ จุดประสงค์ของการให้ท่านมีข้อมูลเช่นนี้ ก็เพื่อช่วยให้กระแสพลังงานไหลผ่านอย่างสะดวก ไม่ติดขัด นี่คือจุดประสงค์หลัก มือให้คงอยู่ในลักษณะฝ่ามือดอกบัว

          ข้าพเจ้าจะพูดเกี่ยวกับ การหมุนฝ่าหลุนสักเล็กน้อยว่า หมุนอย่างไร ทำไมต้องหมุนฝ่าหลุน เพราะพลังงานที่เราส่งออกไปนั้นไกลมากจริงๆ ส่งออกไปถึงสุดสองขั้วของจักรวาล ไม่มีการเคลื่อนไหวความนึกคิด จึงแตกต่างจากหลักพลังกงทั่วไป ที่มีการรวบชี่หยางของฟ้า เก็บชี่อินของดิน ซึ่งก็ยังไปไม่พ้นจากโลก ของเราจะทะลวงผ่านโลกออกไปถึงสุดขั้วของจักรวาล ในความคิดของท่าน ไม่อาจจะคาดคะเนได้ว่า ขั้วของจักรวาลนั้นใหญ่เพียงไร ไกลเท่าใด ไม่อาจจะคาดคิด ต่อให้ท่านคิดตลอดวันก็คิดไม่ออกว่ามันใหญ่โตเพียงไร ท่านคิดไม่ออกว่าขอบของจักรวาลอยู่ที่ใด ให้ละทิ้งความคิด ต่อให้ท่านคิดจนเหนื่อยก็คิดไม่ออก แต่การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมที่แท้จริงก็คืออู๋เหวย(ไร้การกระทำ) ดังนั้นท่านไม่ต้องเคลื่อนไหวความนึกคิด ไม่ต้องสนใจ เพียงแต่เคลื่อนไหวไปตามกลไก กลไกของข้าพเจ้าสามารถบังเกิดผลเช่นนี้ได้ เวลาฝึกพลังกง ทุกท่านต้องคอยสังเกตให้ดี เพราะพลังงานจะส่งออกไปไกลมากๆ ดังนั้นเวลาเก็บท่า พวกเราต้องหมุนเพื่อเสริมกำลังของฝ่าหลุน หมุนเพื่อรับเอาพลังงานกลับมาในชั่วพริบตา หมุน 4 รอบก็พอ หมุนมากกว่านั้นท้องของท่านจะพอง หมุนตามเข็มนาฬิกา เวลาหมุนไม่ให้หมุนรอบใหญ่นัก ต้องไม่เกินออกนอกลำตัว โดยศูนย์ของแกนอยู่ต่ำจากสะดือลงมา 2 นิ้ว ให้กางข้อศอกออกเล็กน้อย มือและแขนตรง การฝึกพลังกงในระยะแรก ให้เคลื่อนไหวกระบวนท่าให้ถูกต้อง ไม่เช่นนี้จะทำให้“จี”เสียรูป(เบี้ยว)ได้


4. พลังกงชุดที่ 4

          พลังกงชุดที่ 4 เรียกว่าฝ่าหลุนโจวเทียนฝ่า (ฝ่าหลุนวงจรสวรรค์) เราใช้คำศัพท์ทั้งของสายพุทธและสายเต๋า จุดสำคัญก็เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจ ในอดีตเราเรียกว่าหมุนต้าฝ่าหลุน พลังกงชุดนี้ของเรา มีส่วนคล้ายกับการหมุนโจวเทียนใหญ่ของสายเต๋า แต่ของเรามีข้อกำหนดที่ไม่เหมือนกัน พลังกงชุดที่ 1 เป็นการเปิดทะลวงชีพจรทั้งหมดให้เปิดออก ส่วนพลังกงชุดที่ 4 เป็นการนำพาชีพจรทั้งหมดให้หมุนเวียนพร้อมกัน ร่างกายชั้นนอกของคนมีชีพจร ชั้นลึกลงไปภายใน มีอยู่เป็นชั้นๆ ช่องว่างระหว่างอวัยวะภายในล้วนมีชีพจร เช่นนั้นพลังงานของเราเดินอย่างไร ไม่ใช่เป็นการเดินของชีพจรหนึ่งหรือสองเส้น และไม่เป็นเพียงการหมุนเวียนของชีพจรฉีจิง (ช่องทาง มหัศจรรย์)ทั้งแปด ของเราต้องการให้ชีพจรทั้งหมดในร่างกายหมุนเวียนในเวลาเดียวกัน ดังนั้นพลังงานจะค่อนข้างแรงกล้า หากแบ่งด้านหน้าและด้านหลังของร่างกายคนเป็นอิน-หยาง พลังงานก็จะเดินทีละด้าน ทีละด้าน ก็คือหมุนเวียนทั่วทั้งด้าน ต่อไปเมื่อท่านฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่า ท่านต้องละทิ้งความนึกคิด การหมุนโจวเทียนใดๆที่เคยฝึกมาก่อน ของเราชีพจรทั้งหมดจะเปิดออกพร้อมกัน และหมุนเวียนพร้อมกัน กระบวนท่าการเคลื่อนไหวค่อนข้างเรียบง่าย กำหนดให้อยู่ในท่ายืนปักหลักเหมือนพลังกงชุดก่อนหน้า แต่การเคลื่อนไหวมี การตีวง การก้มและเคลื่อนไหวไปตามกลไก พลังกงชุดก่อนก็เช่นกัน ล้วนมี“จี”(กลไก)อยู่ กลไกของพลังกงชุดนี้ที่ข้าพเจ้าใส่ไว้ ณ ภายนอกร่างกายของท่านไม่ใช่“จี”ธรรมดาทั่วไป เป็นชั้นที่ใส่ไว้ภายนอกร่างกาย ซึ่งสามารถนำชีพจรทั้งหมดในร่างกายของท่าน ให้หมุนเวียนพร้อมกัน เวลาที่ท่านไม่ได้ฝึกพลังกง กลไกก็จะนำชีพจรของท่าน หมุนเวียนทุกเวลานาที ถึงเวลากลไกก็จะหมุนทวน หมุนทั้งสองด้าน จึงไม่จำเป็นที่ท่านต้องฝึก เราสอนให้ท่านฝึกอย่างไร ก็ให้ฝึกอย่างนั้น ไม่มีการเคลื่อนไหวความนึกคิดใดๆ ทั้งหมดนี้ล้วนดำเนินไปโดยชีพจรชั้นใหญ่นี้ นำพาให้ท่านฝึกจนเสร็จสิ้น

          เวลาพลังกงชุดนี้หมุนเวียน มันจะนำพาพลังงานให้หมุนเวียนไปทั่วร่างกาย หมายความว่า ถ้าแบ่งร่างกายคนออกเป็นอินและหยาง สองด้าน ก็จะหมุนเวียนจากด้านหยางไปยังด้านอิน จากภายในไปถึง ภายนอก หมุนเวียนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ชีพจรนับร้อยนับพันเส้นหมุนเวียนพร้อมกัน ผู้ที่เคยฝึกการหมุนโจวเทียนในวิชาอื่น แบบที่มีความนึกคิด มีความคิด เมื่อมาฝึกต้าฝ่าของเรา ท่านต้องละทิ้งทั้งหมด สิ่งนั้นของท่านเล็กมาก ชีพจรหนึ่งหรือสองเส้น ใช้ไม่ได้ มันช้ามาก เป็นที่ทราบกัน ร่างกายคนตั้งแต่ชั้นนอกลึกลงไปมีระบบชีพจรอยู่ ความจริงแล้วชีพจรโยงใยกันเหมือนเส้นเลือด มีจำนวนมากกว่าเส้นเลือดเสียอีก ทุกๆมิติของร่างกาย ทุกๆชั้นก็คือร่างกายของท่าน จากชั้นนอกเข้าไปถึงชั้นใน ล้วนมีระบบทางเดินชีพจรอยู่ แม้กระทั่งช่องว่างของอวัยวะภายในก็มี ดังนั้นเวลาเราฝึก กำหนดให้แบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วน อิน-หยางสองด้าน ก็คือพลังงานจะหมุนเวียนจากทั่วด้านหน้าและด้านหลังหมุนเวียนพร้อมกัน จึงไม่ใช่เพียงชีพจรหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น ผู้ที่เคยฝึกโจวเทียนมาก่อน หากไม่ละทิ้งความนึกคิดที่มีอยู่เดิม ก็จะไม่เป็นผลดีต่อการฝึกพลังกงของท่าน ดังนั้นท่านต้องละทิ้งความนึกคิดเดิมที่มีอยู่ ถึงแม้โจวเทียนที่เคยฝึกจะเปิดทะลวงแล้วก็ตาม ก็ยังนับเป็นอะไรไม่ได้ ของเราทันทีที่เริ่มต้นก็ไปไกลจากสิ่งนั้นมาก กำหนดให้ร้อยชีพจรหมุนเวียนทั้งหมด ท่ายืนปักหลักไม่แตกต่างจากพลังกงชุดก่อนหน้า เพียงแต่ต้องมีการก้ม มีการตีวง เวลาฝึกพลังกงเรากำหนดให้มือเคลื่อนไปตามกลไกเช่นเดียวกับพลังกงชุดที่ 3 มือจะโบยบินตามกลไกกลับมา เวลาฝึกพลังกงชุดนี้ การหมุนเวียนในร่างกายจะโบยบินไปตาม“จี”(กลไก)

          พลังกงชุดนี้ให้ทำ 9 ครั้ง หากท่านคิดจะทำเพิ่ม ให้ทำ 18 ครั้ง ต้องทำให้ครบ 9 ครั้งเสมอ ต่อไปเมื่อฝึกไปถึงระดับหนึ่ง ไม่ต้องนับ เพราะเหตุใด เพราะเมื่อท่านครบ 9 ครั้ง 9 ครั้ง ต่อๆกันเช่นนี้ ถึงระยะเวลาหนึ่งก็จะเกิดเป็น“จี” พอทำครบ 9 ครั้ง “จี”ก็จะนำสองมือเคลื่อนมาเตี๋ยโค่วเสียวฝู่เองโดยอัตโนมัติ ท่านก็ไม่จำเป็นต้องนับอีกต่อไป แน่นอนในระยะแรกของการบำเพ็ญปฏิบัติ กลไกยังไม่แรงกล้านัก ท่านยังจำเป็นต้องคอยนับจำนวน


5. พลังกงชุดที่ 5

          พลังกงชุดที่ 5 เรียกว่าเสินทงเจียฉือฝ่า (พลังกงเพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์) พลังกงชุดนี้เป็นการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมในระดับชั้นสูง เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญเองตามลำพังในอดีต ข้าพเจ้าได้นำออกมาถ่ายทอดให้แก่ทุกท่านโดยไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแต่ประการใด เพราะข้าพเจ้าไม่มีเวลาพอ... ยากที่จะมีโอกาสสอนทุกท่านด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงนำเอาของทั้งหมดของข้าพเจ้าออกมาสอนพวกท่าน ให้ทุกท่านมีพลังกงฝึกในระดับชั้นสูงต่อไปในภายหน้า พลังกงชุดนี้กระบวนท่าการเคลื่อนไหว ไม่ซับซ้อน เพราะต้าเต้าเน้นความเรียบง่าย อะไรที่ซับซ้อนไม่แน่ว่าจะดีเสมอไป ณ ระดับมหภาคพลังกงชุดนี้ควบคุมการผันแปรของสิ่งต่างๆมากมาย พลังกงชุดนี้มีความยากอยู่ที่การฝึกฝน มีข้อกำหนดค่อนข้างสูง คือเวลาฝึกท่านต้องนั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน เป็นพลังกงชุดเอกเทศ ก่อนจะฝึกพลังกงชุดนี้ ท่านไม่จำเป็นต้องฝึกพลังกง 4 ชุด ที่อยู่ก่อนหน้า แน่นอนพลังกงของเราทุกชุดให้ความสะดวก วันนี้ท่านไม่มีเวลา จะฝึกชุดที่ 1 เท่านั้น เช่นนั้นท่านก็ฝึกชุดที่ 1 หรือจะเลือกฝึกชุดใดชุดหนึ่งก็ได้ วันนี้เวลารัดตัวมากๆ ท่านคิดจะฝึกชุดที่ 2 หรือชุดที่ 3 หรือชุดที่ 4 ก็ได้ทั้งนั้น ท่านมีเวลามากก็ฝึกมากหน่อย มีเวลาน้อยก็ฝึกน้อยหน่อย สะดวกมาก การฝึกของท่านคือการเสริมกำลัง“จี” เสริมกำลังจีเหนิง(กลไกพลังงาน) ที่ข้าพเจ้าใส่ให้ เสริมกำลังฝ่าหลุน เสริมกำลังตานเถียน

          พลังกงชุดที่ 5 ของเราเป็นพลังกงชุดเอกเทศ ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ การรำมือ จุดประสงค์ของการรำมือก็เพื่อปรับและ เปิดร่างกาย กระบวนท่าค่อนข้างง่าย มีเพียงไม่กี่กระบวนท่า ส่วนที่สองคือ การเพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์ มีกระบวนท่าในรูปแบบคงที่ไม่กี่กระบวนท่า เพื่อส่งความสามารถและอิทธิฤทธิ์ฝอฝ่าภายในร่างกาย ออกมาเสริมให้แข็งแกร่งบนฝ่ามือในระหว่างการฝึกพลังกง ดังนั้นพลังกงชุดที่ 5 จึงเรียกว่า เสินทงเจียฉือฝ่า(เพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์) ก็คือเสริมความสามารถให้แข็งแกร่ง ต่อจากนั้นก็เริ่มนั่งสมาธิ เข้าสู่ติ้ง(นิ่ง) แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเช่นนี้

          ข้าพเจ้าจะขอพูดถึงการนั่งขัดสมาธิก่อน การขัดสมาธิมีสองแบบ การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงต้องขัดสมาธิสองขา บางคนพูดว่าการขัดสมาธิไม่ใช่มีเพียง 2 แบบเท่านั้น ท่านดูการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมของนิกายมี่จง การขัดสมาธิมีหลายวิธีด้วยกันมิใช่หรือ ข้าพเจ้าขอบอกทุกท่าน นั่นไม่ใช่วิธีนั่งขัดสมาธิ แต่เป็นท่าของการฝึกพลังกง ท่าของการเคลื่อนไหวแบบหนึ่ง การนั่งขัดสมาธิที่แท้จริงมีเพียงสองแบบ แบบที่หนึ่งเรียกว่าขัดสมาธิขาเดียว อีกแบบเรียกว่าขัดสมาธิสองขา

          ข้าพเจ้าจะขอพูดถึงการนั่งขัดสมาธิขาเดียวสักเล็กน้อย การนั่งขัดสมาธิขาเดียวเป็นวิธีชั่วคราว ที่ท่านจำเป็นต้องใช้ในระหว่างที่ท่านยังนั่งขัดสมาธิสองขาไม่ได้ นั่งขัดขาเดียวคือขาข้างหนึ่งอยู่ข้างล่าง อีกข้างหนึ่งอยู่ข้างบน พวกเราหลายคน เวลานั่งขัดสมาธิขาเดียว ตาตุ่มข้อเท้าถูกกดทับจนเจ็บ เพียงประเดี๋ยวเดียวก็จะเจ็บจนทนไม่ไหว ขาไม่ค่อยเจ็บ แต่เจ็บที่ตาตุ่มข้อเท้า หากท่านสามารถจัดฝ่าเท้าให้หันออก บิดกลางฝ่าเท้าหันขึ้นข้างบน ตาตุ่มข้อเท้าก็จะหลบเข้าไปอยู่ด้านหลัง ในระยะเริ่มต้น แม้ข้าพเจ้าจะบอกให้ท่านทำเช่นนี้ ท่านก็ไม่แน่ว่าจะทำได้ ค่อยๆฝึกไปก็จะทำได้

          การนั่งขัดสมาธิขาเดียว มีการพูดต่างๆนานา สายเต๋าฝึกพลังกง พูดถึงการรับเข้าโดยไม่ปล่อยออก ดังนั้นจึงรับพลังงานเข้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ปล่อยออก เขาหลีกเลี่ยงที่จะปล่อยพลังงานออกสู่ภายนอก เขาทำอย่างไร เขาเน้นที่จะปิดจุดลมปราณ ดังนั้นเวลาเขานั่งขัดสมาธิ ก็จะกดจุดลมปราณหย่งฉวนเซี้ยเข้าข้างในข้อเท้า กดจุดลมปราณหย่งฉวนเซี้ยเข้าไปตรงโคนต้นขา เจี๋ยอิ้งก็เช่นกัน เขาจะใช้หัวแม่มือกดเข้าที่จุดเหลากงเซี้ย จากนั้นจุดเหลากงเซี้ยก็จะกดมือข้างนี้ และกดเข้าที่ท้องน้อย

          ต้าฝ่าของเรา การนั่งขัดสมาธิไม่ค่อยเน้นในสิ่งเหล่านี้มากนัก เพราะการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมของสายพุทธ ไม่ว่าจะเป็นสำนักใด ล้วนพูดถึงการโปรดสรรพชีวิต ดังนั้นเขาจึงไม่กลัวว่าพลังงานจะไหลออกสู่ภายนอก เพราะถึงแม้ว่าจะมีการสูญเสียพลังงาน โดยการไหลออกไปจริงๆ พลังงานก็จะชดเชยกลับมาในระหว่างการฝึกพลังกง โดยไม่สูญเสียอะไรเลย เพราะมาตรฐานซินซิ่งอยู่ตรงนั้น พลังงานก็จะไม่สูญหายไปไหน หากท่านคิดจะยกระดับชั้นสูงขึ้นไปอีก ท่านก็จะต้องทนทุกข์ทนความลำบาก ดังนั้นพลังงานจะไม่สูญหาย สำหรับการขัดสมาธิขาเดียว เราไม่มีข้อกำหนดอะไรต่อท่านมากนัก ข้อกำหนดของเราไม่อยู่ที่การขัดสมาธิขาเดียว พลังกงชุดนี้ของเรามีข้อกำหนดให้ขัดสมาธิสองขา เพราะบางคนไม่สามารถขัดสมาธิสองขา ข้าพเจ้าจึงถือโอกาสอธิบายเรื่องการขัดสมาธิขาเดียวให้แก่ท่าน หากท่านไม่สามารถขัดสมาธิสองขาในเวลานี้ ท่านสามารถใช้วิธีนั่งขัดสมาธิขาเดียว แต่ต่อไปภายหน้า ท่านยังจะต้องขัดขาอีกข้างขึ้นมาให้ได้ สำหรับการขัดสมาธิขาเดียว ชายขาขวาอยู่ข้างล่างขาช้ายอยู่ข้างบน หญิงขาซ้ายอยู่ข้างล่างขาขวาอยู่ข้างบน อันที่จริงการขัดสมาธิขาเดียว โดยแท้จริงมีความยากค่อนข้างสูง กำหนดให้ขัดขาเป็นเส้นตรง ข้าพเจ้าคิดว่าความยากก็ไม่แพ้การขัดสมาธิสองขา เพราะโดยหลักขาจะต้องขัดให้เสมอกัน ต้องขัดให้ได้ระดับนี้ ระหว่างขาและท้องน้อยจะต้องมีช่องว่าง ซึ่งทำได้ค่อนข้างยาก นี้คือหลักการทั่วไปของการขัดสมาธิขาเดียว แต่ไม่ใช่สิ่งที่พวกเรากำหนด เพราะอะไร เพราะพลังกงชุดนี้ของเราต้องขัดสมาธิสองขา

          ข้าพเจ้าจะอธิบายถึงการขัดสมาธิสองขาต่ออีกสักเล็กน้อย ข้อกำหนดของเราคือการขัดสมาธิสองขา ก็คือดึงขาที่อยู่ข้างล่างขึ้นมาไว้ข้างบน ดึงขึ้นจากด้านนอก ไม่ใช่จากด้านใน นี่ก็คือการขัดสมาธิสองขาซึ่งสามารถขัดให้เล็กได้ การขัดให้เล็กจะสามารถบรรลุถึง“อู่ซินเฉาเทียน”(ใจกลางห้าจุดหงายสู่ฟ้า) เช่นนี้ใจกลางฝ่าเท้าก็จะหงายขึ้นข้างบน อู่ซินเฉาเทียนที่แท้จริงก็ฝึกกันเช่นนี้ ส่วนยอดของศีรษะ ใจกลางฝ่ามือทั้งสอง ใจกลางฝ่าเท้าหงายสู่ฟ้า พลังกงของสายพุทธโดยทั่วไปก็เป็นเช่นนี้ การขัดสมาธิแบบใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของตัวท่านเอง บางคนชอบที่จะขัดสมาธิแบบใหญ่ แต่ของเราก็คือการขัดสมาธิสองขา จะขัดแบบใหญ่ หรือขัดแบบเล็กก็ได้ทั้งนั้น

          การบำเพ็ญปฏิบัติสมาธิ มีข้อกำหนดให้นั่งขัดสมาธิเป็นเวลา นาน เวลานั่งไม่มีความนึกคิดอะไร อะไรก็ไม่คิด เราขอเน้นว่าจิตสำนึกหลัก(จู่อี้ซื่อ)ของท่านต้องแจ่มชัด เพราะพลังกงชุดนี้เป็นการบำเพ็ญปฏิบัติตัวท่านเอง ท่านต้องยกระดับขึ้นมาโดยรู้ตัวอย่างแจ่มแจ้ง พวกเราจะฝึกพลังกงชุดนี้อย่างไร เรามีข้อกำหนดเช่นนี้ ต่อให้ท่านเข้าสู่ติ้ง(นิ่ง)ลึกเพียงไร ก็ต้องรู้ตัวว่าตัวเองกำลังฝึกพลังกงอยู่ตรงนี้ ไม่ให้เข้าสู่สภาวะที่อะไรก็ไม่รู้โดยเด็ดขาด เช่นนั้นโดยรูปธรรมจะมีสภาวะเป็นเช่นไร เมื่อเข้าสู่ติ้ง(นิ่ง)แล้ว จะรู้สึกประดุจตัวเองนั่งอยู่ข้างในเปลือกไข่ไก่ เป็นความรู้สึกที่สวยงามสุดยอด รู้สึกสบายมากๆ รู้ว่าตัวเองกำลังฝึกพลังกงอยู่ แต่รู้สึกว่าไม่สามารถขยับตัว นี้คือสิ่งที่จะปรากฏออกมาในพลังกงของเรา ยังมีอีกสภาวะหนึ่ง คือนั่งไปนั่งมาราวกับว่าขาก็หายไป คิดไม่ออกว่าขาหายไปไหน ร่างกายก็ไม่มี แขนก็ไม่มี มือก็ไม่มี เหลือเพียงศีรษะอยู่ ฝึกต่อไปอีกจะพบว่า ศีรษะก็หายไป เหลือเพียงความคิดของตัวเอง ความนึกคิดอันน้อยนิด รู้ว่าตัวเองกำลังฝึกพลังกงอยู่ตรงนี้ ให้รักษาความนึกคิดอันน้อยนิดนี้ไว้ ให้พวกเราบรรลุถึงระดับนี้ก็เพียงพอแล้ว เพราะอะไร คนเมื่อฝึกถึงสภาวะเช่นนี้ ร่างกายจะบรรลุถึงระดับการผันแปรอย่างเต็มที่ที่สุด สภาวะที่ดีที่สุด ดังนั้นเราขอให้ท่านเข้าสู่สมาธิในสภาวะเช่นนี้ แต่ท่านต้องไม่หลับหรือมีสติเลื่อนลอย รักษาความนึกคิดนั้นไม่อยู่ ก็จะฝึกไปโดยเปล่าประโยชน์ เท่ากับไม่ได้ฝึก แต่หลับไป เมื่อจบการฝึกพลังกง สองมือเหอสือ ออกจากติ้ง(นิ่ง) การฝึกพลังกงจบลงแล้ว

 


ภาคผนวก

1.       ข้อกำหนดสำหรับศูนย์ช่วยฝึกสอนฝ่าหลุนต้าฝ่า

 

1.       ศูนย์ช่วยฝึกสอนฝ่าหลุนต้าฝ่าแต่ละแห่ง จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยฝึกสอนการบำเพ็ญปฏิบัติให้แก่คนทั่วไปโดยเฉพาะ ไม่ให้ดำเนินงานในรูปขององค์กรธุรกิจ หรือบริหารงานในลักษณะขององค์กรโดยเด็ดขาด ศูนย์ช่วยฝึกสอนต้องไม่คงไว้ซึ่งทรัพย์สินเงินทอง ไม่ดำเนินกิจกรรมรักษาโรคแก่ผู้คน บริหารงานแบบอิสระ

2.       หัวหน้าศูนย์ช่วยฝึกสอนวิชาฝ่าหลุนต้าฝ่าและคนทำงาน ต้องเป็นผู้บำเพ็ญปฏิบัติจริงของฝ่าหลุนต้าฝ่า

3.       การเผยแพร่ฝ่าหลุนต้าฝ่า ต้องปฏิบัติตามแนวคิดหลัก และเนื้อหาของต้าฝ่า อย่าได้นำความคิดส่วนตัวหรือนำวิชาอื่นมาปะปนกับงานเผยแพร่ต้าฝ่า และไม่ชักนำผู้ฝึกให้หลงเข้าไปในความคิดที่ไม่ถูกต้อง

4.       ศูนย์ช่วยฝึกสอนทุกแห่ง ต้องเป็นผู้นำในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง การยกระดับซินซิ่งของผู้ฝึก คือแก่นแท้ของการบำเพ็ญธรรม

5.       ศูนย์ช่วยฝึกสอนทุกแห่ง ถ้ามีความพร้อมควรติดต่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมซึ่งกันและกัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติต้าฝ่า ยกระดับสูงขึ้นทั้งหมด ต้องไม่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย การช่วยเหลือคนไม่มีการแบ่งแยกท้องที่ หรือเชื้อชาติ ให้แสดงออกซึ่งซินซิ่งของศิษย์ผู้บำเพ็ญจริงในทุกๆด้าน ผู้บำเพ็ญต้าฝ่าล้วนเป็นศิษย์สำนักเดียวกัน

 

6.       แน่วแน่ในการต่อต้านพฤติกรรมใดๆ ที่จะบ่อนทำลายนัยสำคัญของต้าฝ่า ไม่ให้ศิษย์คนใดนำเอาความรู้สึกที่ได้เห็น ได้ยิน ความเข้าใจจากการสัมผัสในระดับชั้นต่ำมาพูด เป็นนัยสำคัญของฝ่าหลุนต้าฝ่า และถ่ายทอดฝ่า รวมถึงการแนะนำให้ทำบุญกุศลก็ไม่ได้ เพราะนั่นไม่ใช่ฝ่า แต่เป็นคำแนะนำให้คนธรรมดาสามัญทำความดี ไม่มีฝ่าลี่(พลังฝ่า)ช่วยเหลือผู้คนให้หลุดพ้น พฤติกรรมที่พูดถึงเต๋าโดยใช้ความรู้สึกของตัวเอง ถือเป็นพฤติกรรมบ่อนทำลายฝ่าอย่างร้ายแรง เมื่ออ้างอิงคำพูดของข้าพเจ้าขึ้นมาให้พูดว่า “อาจารย์หลี่ หงจื้อ พูดว่า...” เป็นต้น

7.       ห้ามศิษย์ของต้าฝ่าฝึกปะปนกับหลักพลังกงอื่น (คนเหล่านี้มักจะออกนอกลู่นอกทาง) ผู้ใดไม่ฟังคำเตือน เกิดปัญหาตัวเองต้องรับผิดชอบ ให้บอกศิษย์ทุกคน ในขณะฝึกพลังกง ไม่ให้นึกคิดถึงหลักพลังกงอื่น เคลื่อนไหวทางความคิดก็ไม่ได้ เพียงขยับความคิดก็เท่ากับตัวเองแสวงหาวิชานั้น เมื่อปะปนเข้าไปฝึก ฝ่าหลุนจะเปลี่ยนรูปและไม่บังเกิดผล

8.       ผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่า ต้องบำเพ็ญซินซิ่งและกระบวนท่าการเคลื่อนไหวพร้อมๆกันไป ผู้ที่ฝึกท่าแต่ละเลยซินซิ่ง ไม่ถือว่าเป็นศิษย์ของฝ่าหลุนต้าฝ่า ดังนั้นการศึกษาฝ่าและอ่านหนังสือ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องบำเพ็ญทุกวัน

 

หลี่ หงจื้อ

20 เมษายน 1994


2.       ข้อกำหนดสำหรับศิษย์ฝ่าหลุนต้าฝ่า ในการเผยแพร่ฝ่าและพลังกง

 

1.       ให้ศิษย์ฝ่าหลุนต้าฝ่าทุกคนพูดว่า “อาจารย์หลี่ หงจื้อ บรรยายว่า...” หรือ “อาจารย์หลี่ หงจื้อ พูดว่า...” ขณะเผยแพร่วิชาฝ่าหลุนต้าฝ่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ความรู้สึกของตน สิ่งที่ได้เห็น และรู้ หรือของในหลักวิชาอื่น มาเผยแพร่เป็นต้าฝ่าของอาจารย์หลี่ หงจื้อ ไม่เช่นนั้น สิ่งที่ถ่ายทอดก็ไม่ใช่ฝ่าหลุนต้าฝ่า ถือเป็นการบ่อนทำลายฝ่าหลุนต้าฝ่าทั้งสิ้น

2.       ศิษย์ฝ่าหลุนต้าฝ่าทุกคนสามารถเผยแพร่ฝ่าหลุนต้าฝ่าด้วยวิธีดังนี้ อ่านหนังสือด้วยกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนฝ่าตามคำสอนของอาจารย์หลี่ หงจื้อ ณ ศูนย์ช่วยฝึกสอน ห้ามบรรยายฝ่าในหอประชุมตามรูปแบบที่ข้าพเจ้ากระทำ เพราะใครก็ไม่สามารถบรรยายต้าฝ่าได้ และไม่มีใครทราบถึงระดับชั้นของข้าพเจ้า ความคิด และความหมายที่แท้จริงในฝ่าที่ข้าพเจ้าพูด

3.       เวลาแสดงความคิดเห็นและความเข้าใจต่อต้าฝ่า ขณะอ่านหนังสือด้วยกัน ณ ที่ประชุมหรือศูนย์ช่วยฝึกสอนให้พูดว่า “เป็นความเข้าใจของตัวเอง” ไม่ให้เอาความเข้าใจส่วนตัวผสมเข้ากับต้าฝ่า ยิ่งกว่านั้น ไม่อนุญาตให้เอาความเข้าใจส่วนตัวมาอ้างเป็นคำพูดของอาจารย์หลี่ หงจื้อ

 

 

 

 

 

 

4.       ศิษย์ฝ่าหลุนต้าฝ่าทุกคนต้องไม่รับค่าตอบแทน ไม่รับสินน้ำใจ เวลาเผยแพร่ฝ่าและสอนกระบวนท่าการเคลื่อนไหว ผู้ใดฝ่าฝืนก็ไม่ใช่ศิษย์ของฝ่าหลุนต้าฝ่า

5.       ศิษย์ต้าฝ่าทุกคน ต้องไม่ใช้โอกาสของการถ่ายทอดพลังกง หรือใช้ข้ออ้างใดๆ ทำการรักษาโรคให้แก่ผู้ฝึก ไม่เช่นนั้นก็คือ การบ่อนทำลายต้าฝ่า

 

หลี่ หงจื้อ

25 เมษายน 1994


3.       มาตรฐานของผู้ช่วยฝึกสอนฝ่าหลุนต้าฝ่า

 

1.       ผู้ช่วยฝึกสอนต้องมีใจรักฝ่าหลุนต้าฝ่า มีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน และยินดีอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น กระตือรือร้นที่จะจัดกิจกรรมการฝึกพลังกงแก่ผู้ฝึก

2.       ต้องเป็นผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่าเพียงวิชาเดียวเท่านั้น ถ้าศึกษาวิชาอื่นให้ถือว่าได้ละทิ้งการเป็นผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่า และขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้ช่วยฝึกสอนโดยอัตโนมัติ

3.       ณ ศูนย์ฝึก ผู้ช่วยฝึกสอนต้องเข้มงวดกับตัวเอง ใจกว้าง ผ่อนปรนต่อผู้อื่น ต้องรักษาซินซิ่ง ช่วยเหลือเกื้อกูลและเป็นมิตร

4.       เผยแพร่ต้าฝ่า จริงใจช่วยฝึกสอนพลังกง ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนงานของศูนย์ใหญ่อย่างกระตือรือร้น

5.       ช่วยฝึกสอนพลังกงด้วยความสมัครใจ ไม่รับค่าตอบแทน ไม่รับสินน้ำใจ ผู้ฝึกพลังกงไม่แสวงหาชื่อเสียงและผลประโยชน์ แต่ทำเพื่อกุศลคุณูปการ

 

หลี่ หงจื้อ


4.       ผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่าพึงทราบ

 

1.       ฝ่าหลุนต้าฝ่าเป็นหลักบำเพ็ญปฏิบัติพลังกงในสายพุทธ ไม่ให้ผู้ใดแอบอ้างการบำเพ็ญปฏิบัติฝ่าหลุนต้าฝ่า เพื่อเผยแพร่ศาสนาอื่น

2.       ผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่า ต้องปฏิบัติตามกฎหมายในประเทศของตน การกระทำใดๆที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ นโยบายของประเทศ ล้วนไม่เป็นที่ยอมรับของฝ่าหลุนต้าฝ่า อันประกอบด้วยกุศลคุณูปการ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตน

3. ผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่า ต้องปกปักษ์รักษาความสามัคคีในหมู่ผู้ฝึก บำเพ็ญปฏิบัติธรรมด้วยกัน ช่วยพัฒนาวัฒนธรรมของมนุษยชาติ และหน้าที่การงานอย่างเต็มกำลัง

4.       ผู้ฝึก ผู้ช่วยฝึกสอน และศิษย์ของฝ่าหลุนต้าฝ่า ต้องไม่รักษาโรคให้ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ก่อตั้งพลังกง เจ้าของวิชานี้ หรือหน่วยงานรับผิดชอบ ห้ามมิให้รับค่าตอบแทน หรือรับสินน้ำใจจากการรักษาโรคตามอำเภอใจของตนโดยไม่ได้รับความเห็นชอบ

5.       ผู้ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่าบำเพ็ญปฏิบัติซินซิ่งเป็นหลัก ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองของประเทศ และไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับความขัดแย้ง และกิจกรรมทางการเมือง ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าไม่ใช่ศิษย์ของฝ่าหลุนต้าฝ่า และต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาด้วยตัวเอง ปณิธานหลักของผู้บำเพ็ญปฏิบัติธรรมคือ รุดหน้าบำเพ็ญจริง บรรลุความสำเร็จสมบูรณ์ในเร็ววัน

 

หลี่ หงจื้อ


บำเพ็ญจิตและชีวิต

เรียนฟรี    ฝึกฟรี    ชมวิดิทัศน์ฟรี

ไม่ต้องเป็นสมาชิก      ไม่รับบริจาคใดๆ

 

การเริ่มเรียนฝ่าหลุนต้าฝ่า  ทำได้โดย

-    อ่านหนังสือจ้วนฝ่าหลุน ตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างต่อเนื่อง หลายๆรอบ

-    เข้าชมวิดิทัศน์บรรยาย 9 วันติดต่อกัน  ติดต่อสอบถามได้ที่สนามฝึกทุกแห่ง หรือดูกำหนดการจากอินเตอร์เนต //www.falunthai.org

-    สอบถามท่าฝึกพลังกงทั้งห้าชุดจากผู้ช่วยฝึกตามสนามฝึก

     หรือยืมวิดิทัศน์ท่าฝึกจากสนามฝึกได้เช่นกัน

     (ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ)

 

สนามฝึกต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร

อุทยานเบญจสิริ ถนนสุขุมวิท 22 – 24                01 - 443 4663

                                                             01 - 553 6105

หมู่บ้านคลองเตยนิเวศน์                                 02 - 249 3194

สวนลุมพินี ลานตะวันยิ้ม หลังสนามเด็กเล่น

 

Main websites

//www.falundafa.org